วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Homeworks for Google Search:5 july 2008

Please post your google search technique(in Thai) here

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Email Vocabulary Homework


ให้นักศืกษาเลือกคำศัพท์ที่สำคัญจำเป็นของ gmail แยกเป็น 3หัวข้อหลักๆดังนี้

1.sign up อย่างน้อย10 คำ

2.Inbox อย่างน้อย 10คำ

3.Compose mail อย่างน้อย 10คำ


แต่ละคำให้บอก ก.ความหมาย

ข.หน้าที่

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

News Cards Posting for 20/09

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 06/09

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 30/08

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 23/08

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 16/08

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 09/08

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 19/07

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 12/07

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 05/07

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 28/06

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 21/06

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 14/06

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"

News Cards Posting for 07/06

Edtech 15 Please post your News Cards Home works by clicking on "comments"
The posting must be made on exact date not later or before the dates set
การ post newscards จะต้องเป็นช่าวที่เกิดหรือพบในวันที่นั้นๆ ห้าม post ข่าวก่อนหรือหลังวันที่กำหนด

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา· ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ Ph.D.รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังPh.D. (Educational Media&Technology).University.of Missouri-Clumbia,U.S.A*********************************************************************************ความเป็นมามนุษย์มีลักษณะโดดเด่นด้วยความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง มีการถ่ายทอดสติปัญญาไปสู่รุ่นลูกหลานสืบต่อกันไป การเรียนรู้และการสืบสานทางวัฒนธรรมดังกล่าวส่วนมากเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีการวางแผนหรือโครงสร้างที่แน่นอน เมื่อเวลาล่วงเลยไปสังคมมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น การจัดรูปแบบทาง สังคมจึงมีการจัดสรรเป็นรูปแบบเฉพาะ เช่น กลุ่มความสามารถเชิงช่าง โรงเรียน สถาบันการศึกษารูปแบบอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้พัฒนาทักษะ และความรู้จำเป็นต่อการมีชีวิตรอด และการพัฒนาสู่ความรุ่งเรืองต่อไปประวัติศาสตร์อันยาวนานของการจัดองคาพยพของการศึกษา และการฝึกอบรมผ่านอุปสรรคนานานัปการเพื่อสร้างและขยายโอกาสสำหรับมนุษย์เพิ่มขึ้น ช่วยให้เรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในชีวิตธรรมดาทั่วไป สถาบันเพื่อการศึกษา และการฝึกอบรมพยายามปรับเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อช่วยให้มนุษย์ทั้งรายบุคคล และรายกลุ่มสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นทั้งในห้องเรียน หรือจากการเรียนทางไกลคำว่า “การศึกษา” หรือ “education” หมายถึง กิจกรรมหรือแหล่งทรัพยากรทั่วๆไปที่สนับสนุนการเรียนรู้คำว่า “การเรียนการสอน” หรือ “instruction” หมายถึง การจัดรูปแบบของกิจกรรมที่มุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เรียนดังนั้น คำว่า “การศึกษา” จึงไมได้ได้ขีดวงไว้เฉพาะในสถาบันการศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้รวมถึงข้อแนะนำของพ่อแม่ต่อลูก ความรู้และทัศนคติจากสื่อสารมวลชน หรืออิทธิพลทางวัฒนธรรมใดๆที่มีต่อสมาชิกในสังคม การอ่านหนังสือในห้องสมุด หรือการเล่นอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง จึงสามารถจัดเป็นกิจกรรมทางการศึกษาได้ด้วยกิจกรรมการสอน หมายถึง กิจกรรมที่จัดโดยบุคคล หรือสิ่งอื่นใดนอกจากผู้เรียนเพื่อนำพาผู้เรียนไปสู่จุดหมายโดยวิธีการจำเพาะหนึ่งๆ เช่น การอ่านหนังสือในบทเรียนที่ครูกำหนดให้ การสืบค้นอินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลประกอบงานที่ครูมอบหมาย กิจกรรมดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้งการศึกษา และการเรียนการสอน*ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย บริษัทจัดฝึกอบรมพยายามจัดสิ่งเกื้อหนุนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนอันเป็นเป้าหมายหลักของสถาบัน เช่น การจัดอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ บางแห่งจัดยานพาหนะให้สำหรับการเดินทางไปกลับจากสถาบัน บางแห่งเปิดโอกาสให้เรียนแบบทางไกล โอกาสการเข้าถึงบุคคลอื่นๆ สารสนเทศ และอุปกรณ์อื่นๆสถาบันดังกล่าว มักสร้างแรงจูงใจด้วยเกรดหรือระบบติชม จัดบริการสนับสนุนผู้สอน และช่วยพัฒนาด้านวิชาชีพ อาจกล่าวได้ว่า บางครั้งสถาบันเหล่านี้ประกอบกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษา หรือการเรียนการสอน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักของสถาบันเหล่านั้น และสามารถช่วยนำไปสู่การเรียนรู้นั่นเองจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษา อาจเกิดขึ้นจากสถาบัน และผู้เรียนร่วมกัน มักมีลักษณะยุ่งยากซับซ้อน ครูผู้สอนจึงคิดวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายกว่า แน่นอนกว่า และราคาถูกกว่าวิธีการที่ผ่านมา วิธีการบางอย่างดังกล่าวอาจจัดเป็น “เทคโนโลยี” ซึ่งหมายถึง การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือองค์ความรู้ใดๆ เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้ (John Kenneth Galbraith, 1967 : 12) วิธีการดังกล่าวอาจรวมถึงอุปกรณ์ (hard technology) หรือวัสดุ หรือซอฟท์แวร์ (soft technology) อื่นๆกาลเวลาที่เปลี่ยนไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายต่อทฤษฎีและแนวปฏิบัติของเทคโนโลยีการศึกษา ความเข้าใจแนวใหม่ต่อกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ และธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ท้าทายให้นักการศึกษาได้ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) ได้ปรับเปลี่ยนและขยายโอกาสการสนับสนุนการเรียนรู้ในห้องเรียน และการเรียนจากทางไกลเพิ่มขึ้น แหล่งเรียนรู้มีลักษณะเป็นดิจิทัลเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงลดลง ส่งกระจายสารสนเทศได้ง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้ท้าทายแนวคิดเกี่ยวกับการสร้าง การจัดเก็บ และการใช้แหล่งความรู้แบบดั้งเดิม ทำให้เกิดบริบทของการคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา โครงการของ AECT เพื่อกำหนดกรอบที่เหมาะสมของเทคโนโลยีการศึกษาจึงจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนิยามของเทคโนโลยีการศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษามีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา นับแต่มีสาขาวิชานี้บังเกิดขึ้นเรื่อยมาและดำเนินต่อไป ดังนั้นกรอบแนวคิดปัจจุบันจึงมีลักษณะชั่วคราวเท่านั้นเทคโนโลยีการศึกษา สามารถนิยามได้ในลักษณะมโนทัศน์เชิงนามธรรม หรือในลักษณะการฝึกปฏิบัติก. นิยามในลักษณะมโนทัศน์เชิงนามธรรม“เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการศึกษา และการปฏิบัติอันดีงามเพื่อเกื้อกูลการเรียนรู้ และช่วยให้การปฏิบัติดีขึ้น โดยการสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์ และการจัดหาแหล่งทรัพยากร และกระบวนการทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม”“ Educational technology is the study and ethical practice of facilitating and improving performance by creating , using , and managing appropriate technological processes and resources”องค์ประกอบของนิยามคำหลักๆ ที่นำมาใช้ในการนิยามคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา มีความหมายและรายละเอียดจำเพาะดังนี้ก. ศึกษา (study)ศึกษา หมายถึง ความเข้าใจในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา โดยอาศัยการสร้างสรรค์องค์ความรู้ และการปรับปรุงความรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการวิจัย และการฝึกปฏิบัติการตามหลักการที่ค้นพบ สิ่งเหล่านี้คล้องจองกับคำว่า “ศึกษา” เพราะคำว่า “ศึกษา” เป็นการรวบรวมสารสนเทศ และนำมาวิเคราะห์ซึ่งกระทำมากเกินกว่าวิธีการวิจัยแบบดั้งเดิม มีขอบเขตครอบคลุมถึงการวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ และรูปแบบของการสืบค้นแบบอื่นๆ เช่น การตั้งทฤษฎี การวิเคราะห์เชิงปรัชญา การสืบค้นเชิงประวัติศาสตร์ การพัฒนาโครงการ การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง การวิเคราะห์ระบบ และการประเมินความหมายของการวิจัย โดยทั่วไป หมายถึงทั้งการสร้างแนวคิดใหม่ๆ และกระบวนการประเมินเพื่อช่วยให้การปฏิบัติการดีขึ้น การวิจัยสามารถกระทำได้อย่างหลากหลายตามหลักและโครงสร้างทฤษฎี หรือหลักและโครงสร้างที่ขัดแย้งกับทฤษฎี การวิจัยของเทคโนโลยีการศึกษา กำเนิดจาก ความพยายามจะพิสูจน์ว่า สื่อและเทคโนโลยีมีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้อย่างไร สร้างสรรค์การสืบสวน สอบสวน และอธิบายรายละเอียดของกระบวนการและเทคโนโลยีว่าจะมีการใช้งานอย่างเหมาะสมอย่างไร จึงจะช่วยการเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นการวิจัยเทคโนโลยีล่าสุด เป็นการใช้สิ่งแวดล้อมจริง รวมถึงความคิดเห็นของนักปฏิบัติ และผู้วิจัยเอง การวิจัยในอดีตมักมีลักษณะซ้ำซากล้าสมัย การวิจัยมุ่งสู่การแก้ปัญหาโดยการสืบค้นหาวิธีการแก้ไข ความพยายามดังกล่าวนำไปสู่แนวปฏิบัติใหม่ๆ รวมทั้งปัญหาและคำถามใหม่ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติจากหลักทฤษฎี และการสืบค้นหาความรู้จากเหตุการณ์จริงส่งผลทางบวกและมีคุณค่าต่อการวิจัยโดยตรง นักปฏิบัติเหล่านี้จะพิจารณาปัญหาจากสภาพแวดล้อมของตนเอง (เช่น ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนของตนเอง) และใช้ความพยายามแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติ ตามผลการวิจัย และประสบการณ์วิชาชีพของตนเอง การกระทำดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิธีการแก้ปัญหา และความพยายามในการระบุและแก้ไขปัญหาในสภาพแวดล้อมของตนเอง วัฏวิธี (cyclical process) ของการปฏิบัติ/การประเมิน สามารถนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีขึ้นได้ (Schon, 1990)การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาที่ผ่านมา มักเป็นการสำรวจตรวจสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ สืบค้นหาวิธีการออกแบบพัฒนา การใช้ประโยชน์และการจัดการที่ดีที่สุด ต่อมาการวิจัยได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การจัดการสารสนเทศ และสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีพุทธิพิสัยนิยม และสรรคนิยม (constructivism) ทำให้เปลี่ยนแนวคิดจากการสอน (teaching) เป็นการเรียนรู้ (learning) เอาใจใส่ต่อมุมมอง ความชอบของผู้เรียนในฐานะเจ้าของของกระบวนการเรียนรู้เพิ่มขึ้นการปรับเปลี่ยนทฤษฎีดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยีการศึกษาอย่างมหาศาล จากสาขาวิชาที่มุ่งออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะนำส่ง (delivered) ความรู้ในหลากหลายรูปแบบ (ทั้งเทคโนโลยีและกลยุทธ์) ไปเป็นสาขาวิชาที่เน้นการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ลงมือสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบต่างๆ การวิจัยจึงเปลี่ยนไปเป็นการเฝ้าสังเกต การมีส่วนร่วม และการสร้างสรรค์อย่างจริงจังของผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ กล่าวคือ การวิจัยได้ปรับเปลี่ยนการออกแบบจากวิธีการเรียนการสอนทั่วไปไปเป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ข. การปฏิบัติอันดีงาม (ethical practice)คณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมของ AECT (AECT Ethics Committee) ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม หรือการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม โดยเฉพาะการใช้สื่อ และการเคารพต่อทรัพย์สินทางปัญญา จริยธรรมดังกล่าวไม่มุ่งเน้นเฉพาะ กฎกติกา และความคาดหวัง แต่เน้นวิธีการปฏิบัติด้วยในความเป็นวิชาชีพของเทคโนโลยีการศึกษา ผู้ปฏิบัติจะต้องตรวจสอบตนเองอยู่เสมอว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องดีงามตามหลักจริยธรรมหรือไม่ การออกแบบการสอนแบบเดิม หรือการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะต้องคำนึงถึง ความดีงามของสังคมรวมเข้าไว้ด้วยกันเสมอ ดังนั้น การออกแบบระบบการเรียนรู้แบบใหม่จึงต้องรู้ว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ใครสนับสนุน ใครมีอำนาจบ้าง เป็นต้นหลักปฏิบัติตามจริยธรรมของ AECT คือ การให้ความช่วยเหลือสมาชิกเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มเพื่อคงไว้ซึ่งการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพในระดับสูง (Welliver, 2001)หลักปฏิบัติของ AECT แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือหมวดหนึ่ง : พันธะสัญญาต่อเอกัตบุคคลเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึง และใช้งานแหล่งข่าวสารการปกป้องความสมบูรณ์ และความปลอดภัยของวิชาชีพหมวดสอง : พันธะสัญญาต่อสังคม เช่น แสดงข้อเฑ็จจริงทางการศึกษาที่ถูกต้อง และเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้เข้ารับการศึกษาอย่างเสมอภาคหมวดสาม : พันธะสัญญาต่อวิชาชีพ เช่น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพ การให้เครดิต แก่งาน หรือสิ่งตีพิมพ์ของคนอื่นหลักปฏิบัติแต่ละข้อจะแสดงรายละเอียด แสดงถึงวิธีการปฏิบัติอันถูกต้องในแต่ละบริบทและบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา แนวพิจารณาดังกล่าวใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิจัย อาจารย์ ที่ปรึกษานักออกแบบ หัวหน้าแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางวิชาชีพ และแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมค. ความเกื้อกูล (facilitating)แนวคิดของการเรียนรู้และการสอนที่เปลี่ยนไปสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในทฤษฎีด้านพุทธิพิสัยนิยมและสรรคนิยม ทำให้สมมุติฐานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอน (instruction) กับการเรียนรู้ (learning) เปลี่ยนไปในอดีตเทคโนโลยีการศึกษามองว่า การเรียนการสอนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนรู้ ตัวอย่าง เช่น ในปี 1963 AECT กล่าวถึง “การออกแบบและการใช้สาร” (messages) ซึ่ง “ควบคุมกระบวนการเรียนรู้” การออกแบบการเรียนการสอน ต่อจากนั้นแสดงความชัดเจนในการควบคุมกระบวนการน้อยลง แต่ยังคงไว้ว่า “การออกแบบการเรียนการสอนที่ดี วิธีสอนที่ดีจะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล” ปัจจุบันมองว่าผู้เรียนเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้มากขึ้น บทบาทของเทคโนโลยีจึงมีลักษณะเกื้อกูลมากกว่าการควบคุมการเรียนรู้บทบาทของเทคโนโลยีในยุคของข่าวสารดิจิทัล ซึ่งต้องเรียนรู้ลึกซึ้ง กว้างไกล เทคโนโลยีจึงต้องแสดงเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ ในฐานะเครื่องมือเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนไว้ค้นหาด้วยตนเองแทนการฝึกและปฏิบัติ (drill – and – practice) เพื่อควบคุมการเรียนรู้อันจำเพาะเจาะจงเช่นที่ผ่านมา นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีหน้าที่ออกแบบเครื่องมือทางพุทธิพิสัย และสภาพแวดล้อมเพื่อนำทาง และสร้างโอกาส และช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบจากข้อสงสัยของตนเองดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงช่วยเกื้อกูล (facilitate) มากกว่าการควบคุม (control) การเรียนรู้การเกื้อกูล ประกอบด้วย การออกแบบสิ่งแวดล้อม การจัดองคาพยพของแหล่งการเรียนรู้ และการจัดหาเครื่องมือต่างๆ ให้ผู้เรียน การสอนตรงแบบดั้งเดิม (direct instruction) อาจมีความจำเป็นต่อการนำไปสู่วิธีการสอนแบบใหม่ในบางประเด็น หรือบางครั้งอาจใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ใหม่ เป็นต้น เหตุการณ์ของการเรียนรู้ สามารถทำได้ทั้งรูปแบบเผชิญหน้า หรือสภาวะแวดล้อมเสมือนจริงง. การเรียนรู้ (learning)ความหมายของการเรียนรู้ที่ AECT นิยามไว้เมื่อ 40 ปีเศษ กับความเข้าใจในปัจจุบันมีความแตกต่างกันมาก ระหว่างความหมายของการเรียนรู้ หมายถึง ความคงทนของสารสนเทศ (retention of information) ที่วัดได้จากการทดสอบกับการเรียนรู้ที่ต้องแสวงหาทักษะเพื่อใช้ประโยชน์นอกห้องเรียนภารกิจการเรียนรู้ สามารถจัดจำพวกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับศัพทานุกรมที่แตกต่างกัน Perkins 1992) ให้นิยามการเรียนรู้อย่างง่ายๆ ว่าหมายถึง ความคงทนของสารสนเทศ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบ และพบในโรงเรียน มหาวิทยาลัยทั่วไป การเรียนรู้ที่เกิดจากการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer – based Instruction) เป็นตัวอย่างที่ดีประเภทหนึ่ง การตั้งจุดประสงค์การเรียนอาจรวมความเข้าใจ (understanding) เข้าไว้กับความจำ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้อาจตั้งไว้ในลักษณะท้าชวนคิด (ambitious)ซึ่งต้องใช้ความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ในเชิงรุก การประเมินการเรียนรู้ลักษณะนี้จะต้องใช้สถานการณ์จริง หรือสถานการณ์จำลอง ท้าทายให้ผู้เรียนเข้ามาจัดเหตุการณ์ ความแตกต่างของการเรียนรู้ทั้งสองประเภทอาจเรียกได้ง่ายๆ ว่าเป็นแบบผิวเผิน (surface) กับแบบลุ่มลึก (deep) (Weigel, 2001)การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ระดับสูงเป็นที่รู้จักกันมานาน สถาบันการศึกษาทุกระดับ สถานฝึกอบรมมีความพยายามจะทำให้เกิดกิจกรรมดังกล่าวอยู่แล้ว ผู้บริหารทั้งหลายทราบดีว่า การทุ่มเทงบประมาณ และเวลาเพื่อการสอนเน้นให้เกิดความรู้ที่เรียกว่า ความรู้เฉื่อย (inert knowledge) เป็นการสูญเสียอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการที่ผู้เรียนไมได้นำความรู้เหล่านั้นมาใช้นอกห้องเรียน นักการศึกษาปัจจุบันมักกล่าวถึงการศึกษาในความหมายของการเรียนรู้ที่มีผลิตผล นำมาใช้เชิงรุกและเป็นการเรียนแบบลุ่มลึก ดังนั้น การเรียนรู้แบบลุ่มลึกจึงต้องมีวิธีสอนและวิธีการวัดประเมินแตกต่างจากการเรียนรู้แบบผิวเผิน (surface learning) อย่างแน่นอนจ. ช่วยทำให้ดีขึ้น (improving)การที่สาขาวิชาชีพใดจะได้รับการยอมรับจากสาธารณชนหรือไม่ สาขาวิชาชีพนั้นต้องพิสูจน์ตนเองว่าสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างชัดเจน สามารถชี้แนวทางถูกต้องที่นำไปสู่เป้าหมายอันทรงคุณค่าได้ ตัวอย่างเช่น พ่อครัวที่จะอ้างว่าเป็นมืออาชีพ พวกเขาต้องปรุงอาหารได้แตกต่างจากบุคคลทั่วไป เช่น น่ารับประทานกว่า ปลอดภัยกว่า มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า กระบวนการปรุงมีประสิทธิภาพสูงกว่า เป็นต้น ดังนั้น การที่เทคโนโลยีการศึกษาจะสามารถ “ช่วยให้การกระทำดีขึ้น” (improve performance) ซึ่งหมายถึง ประสิทธิผลการเรียนรู้ กล่าวคือ กรรมวิธีดังกล่าวนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและคาดการณ์ได้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล และคาดการณ์ได้ ก่อให้เกิดความสามารถและนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงคำว่า ประสิทธิผล (effectiveness) มีนัยคล้ายกับประสิทธิภาพ (efficiency) กล่าวคือ ประสิทธิภาพยึดเอาเป้าหมาย (goal) ของการกระทำเป็นหลัก เช่น ถ้าต้องการขับรถยนต์จากกรุงเทพไปจังหวัดนครราชสีมาการเดินทางโดยใช้วงแหวนตะวันออกตรงไปจังหวัดสระบุรีเลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพ เข้าจังหวัดนครราชสีมา เป็นเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่าการเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ เราจะแวะชมทะเลก่อน การเดินทางจะเปลี่ยนไปเป็น การใช้ถนนมอเตอร์เวย์ – ชลบุรี – นครราชสีมา ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้การออกแบบการเรียนการสอนแบบยึดเอาเป้าหมายทางการเรียนเป็นหลัก จึงคำนึงถึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่วัดได้จากข้อสอบที่สร้างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ การออกแบบการเรียนการสอนจึงต้องจัดให้เป็นระบบชัดเจนในวิธีการเรียนการสอนแบบสรรคนิยม (constructivist) นักออกแบบให้ความสำคัญกับความน่าดึงดูดใจของการเรียนการสอนเป็นพิเศษ ส่งเสริมให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมาย และวิธีการเรียนได้ด้วยตนเองการประเมินผลการเรียนในลักษณะนี้มุ่งวัดความรู้และประสบการณ์ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถนำมาแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับการทดสอบการเรียนรู้ที่วัดด้วยแบบทดสอบทั่วไป อย่างไรก็ตามการออกแบบการเรียนรู้แบบยึดวัตถุประสงค์การเรียนแบบทั่วไปยังมีความจำเป็นในกรณีที่มีกรอบเวลาและทรัพยากรจำกัดฉ. การปฏิบัติ (performance)การปฏิบัติ หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการใช้ และประยุกต์ความสามารถใหม่ๆที่ได้รับ บทเรียนแบบโปรแกรม (programmed instruction) ยึดแนวทางให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติได้ตามจุดประสงค์ปลายทาง (terminal objectives) หลังการเรียนการสอน จุดประสงค์ปลายทางระบุเหตุการณ์ขณะเรียนหรือฝึกอบรม เพื่อทำการวัดว่าผู้เรียนปฏิบัติได้ดีในระดับใดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อเท็จจริงแล้วเทคโนโลยีการศึกษา ไม่สามารถทำให้การปฏิบัติของผู้เรียนดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ทุกชนิด ในความหมายของเทคโนโลยีการปฏิบัติ (performance technology) สถานที่ทำงานมีปัจจัยอื่นๆ ช่วยให้การปฏิบัติการดีขึ้น นอกเหนือจากการสอนหรือการฝึกอบรม เช่น เครื่องมือ เหตุกระตุ้นใจการปรับเปลี่ยนองค์การ การให้กำลังใจ การปรับวิธีทำงาน ฯลฯ (Stolovitch and Keeps, 1992)ดังนั้น เทคโนโลยีการปฏิบัติ (performance technology) จึงมีความหมายกว้างขวางมากกว่าเทคโนโลยีการศึกษา (educational technology)หน้าที่หลัก 3 ประการของเทคโนโลยีการศึกษา คือ การสร้างสรรค์ (creating) การใช้ประโยชน์ (using) และการจัดการ (managing) หน้าที่เหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากหลายๆฝ่ายในเวลาที่แตกต่างกัน หน้าที่เหล่านี้อาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกับการประเมินควบคู่กันไปช. การสร้างสรรค์ (creating)การสร้างสรรค์ หมายถึง ทฤษฎี ผลการวิจัย และแนวปฏิบัติที่รวมอยู่ในกรรมวิธีโครงสร้างของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบทั้งแบบในระบบ (formal) และนอกระบบ (informal)การสร้างสรรค์อาจรวมกิจกรรมหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวิธีการออกแบบที่นำมาใช้ วิธีการออกแบบมีความแตกต่างหลากหลายขึ้นอยู่กับปัจจัยเกี่ยวข้องกับนักออกแบบ เช่น สุนทรีย์ ความเป็นวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม จิตวิทยา กรรมวิธีหรือวิธีระบบ สิ่งเหล่านี้ จะส่งผลต่อการผลิตวัสดุอุปกรณ์ และเงื่อนไขจำเป็นต่อการเรียนรู้อันทรงประสิทธิผลวิธีการระบบ (system approach) อาจมีวิธีการเริ่มจากการวิเคราะห์ (analyzing) ปัญหาการเรียนการสอน ตามด้วยการออกแบบและการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา (designing and developing) , ประเมิน (evaluating) และปรับทบทวน (revising) ของแต่ละขั้นตอน และสุดท้ายนำวิธีการที่ได้มาทดลองใช้ (implementing) การวัดผลและการตรวจสอบในกระบวนการเรียกว่า การประเมินผลระหว่างเรียน(formative evaluation) การประเมินผลตอนสิ้นสุดโครงงาน เรียกว่า การประเมินผลหลังเรียน (summative evaluation)คำถามเพื่อการประเมินพบได้หลายรูปแบบ และขั้นตอนของการออกแบบการเรียนการสอนตัวอย่างการตั้งคำถามเพื่อการประเมิน- การวิเคราะห์ก่อนเรียน (front – end analysis) : ตั้งคำถามว่า มีปัญหาสำหรับการปฏิบัติหรือไม่ อยู่ในกรอบของความจำเป็นของการเรียนการสอนหรือเปล่า- ขั้นการวิเคราะห์ผู้เรียน : ตั้งคำถามว่า คุณลักษณะของผู้เรียนเป็นอย่างไร- ขั้นการวิเคราะห์ภารกิจ (task analysis) : ตั้งคำถามว่า ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถอะไร- ขั้นการออกแบบ : ตั้งคำถามว่า จุดประสงค์การเรียนรู้คืออะไร , โครงสร้างทั่วไปสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ , อุปกรณ์การเรียนการสอนถูกต้องตามหลักการออกแบบสาร (message design) หรือไม่- ขั้นการพัฒนา : ตั้งคำถามว่า รูปแบบพื้นฐานสามารถนำผู้เรียนไปสู่วัตถุประสงค์ได้หรือไม่- ขั้นการนำไปใช้ : ตั้งคำถามว่า วิธีการที่พัฒนาขึ้นได้ถูกนำไปใช้ได้หรือไม่ ถ้าใช้ทำได้ถูกวิธีการหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อปัญหาดั้งเดิมอย่างไรกระบวนการออกแบบและพัฒนาได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยีระบบแอนะล็อก และดิจิทัลที่นำมาสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แตกต่างกัน ตัวอย่างการออกแบบการเรียนการสอนลักษณะครูเป็นหลักจะแตกต่างจากการออกแบบการสอนเกมสถานการณ์จำลองโดยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สิ่งที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นไม่ใช่เฉพาะอุปกรณ์การเรียน และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนเท่านั้น ยังรวมถึงฐานข้อมูลเพื่อจัดการความรู้ ,ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการสำรวจปัญหา , ระบบช่วยเหลืออัตโนมัติ และข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนเพื่อประกาศ และประเมินผลการเรียนรู้ซ. การใช้ประโยชน์ (using)การใช้ประโยชน์ หมายถึง ทฤษฎี และแนวปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการนำผู้เรียนไปสัมผัสกับเงื่อนไขและแหล่งการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์เริ่มด้วยการเลือกแหล่งทรัพยากร วิธีการ และวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมอาจเลือกโดยผู้เรียนหรือผู้สอน การเลือกที่ชาญฉลาดขึ้นอยู่กับความสามารถในการประเมินแหล่งทรัพยากร วิธีการและวัสดุอุปกรณ์ว่าสิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับผู้เรียนเพียงใด ในการเรียนการสอนจริง สิ่งเหล่านี้จะพบได้ในสภาวะแวดล้อมหลากหลาย จึงต้องมีการวางแผนและใช้งาน (utilization) ภายใต้คำแนะนำของครู ถ้าสื่อชนิดนั้น วิธีการนั้นใหม่ต่อการใช้งาน ควรมีการทดลองใช้ก่อนทดลองจริงการนำนวัตกรรมการเรียนการสอนมาทำให้ผู้สอนเกิดความสนใจ หรือการทำตลาดของผู้ขาย บางครั้งอาจเรียกลักษณะการกระทำเช่นนี้ว่า การซึมผ่าน (diffusion) เมื่อครูยอมรับสิ่งเหล่านี้เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เรียกว่า การบูรณาการ (integration) เมื่อการบูรณาการเป็นไปอย่างแพร่หลายทั่วทั้งหน่วยงานจะเรียกว่า การทำให้กลายเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน (institutionalization)การจัดการ (managing) ในยุคแรกงานบริการจัดการเป็นความรับผิดชอบประเภทหนึ่งของวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา ตัวอย่างเช่น การอำนวยการดำเนินงานศูนย์โสตทัศนศึกษา เป็นต้น เมื่อการผลิตสื่อ และวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงรูปแบบมีขนาดซับซ้อน และกว้างขวางยิ่งขึ้น การบริหารต้องอาศัยทักษะ การบริหารโครงการเพิ่มขึ้น การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)นักเทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะด้านบริหารจัดการระบบส่งถ่ายสารสนเทศ การบริหารจัดการย่อยลงไป เช่น การบริหารบุคลากร และการจัดการสารสนเทศ มีความจำเป็นต่อการจัดรูปแบบการทำงานของบุคลากร และการวางแผน การควบคุม วิธีการจัดเก็บ และประมวลผลสารสนเทศนอกจากนี้ การบริหารจัดการที่ชาญฉลาด จำต้องมีการประเมินโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำหน้าที่ประเมิน และเฝ้าสังเกตผลการดำเนินงาน การประกันคุณภาพ (quality assurance) ทำหน้าที่ประเมินเพื่อการปรับปรุงกระบวนการบริหารอย่างต่อเนื่องผู้ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการ อาจเรียกได้ว่าเป็น ผู้ใช้ภาวะผู้นำ (leadership) ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการ และแนวปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษาฌ. ความเหมาะสม (appropriate)ความเหมาะสม หมายถึง การนำวิธีการและทรัพยากรมาใช้อย่างเหมาะสมลงตัวกับจุดประสงค์ที่วางไว้คำว่า เทคโนโลยีที่เหมาะสม (appropriate technology) พบได้แพร่หลายทั่วโลกในสาขาการพัฒนาชุมชน หมายถึง เครื่องมือ หรือแนวปฏิบัติที่ง่ายที่สุดตรงกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างนุ่มนวลมากที่สุด มโนทัศน์ของคำดังกล่าวมีที่มาจาก การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมในยุคปี 1970 คำนี้นำมาใช้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ “เล็กแต่สวย” (Smal lis Beautiful) (Schumacher, 1975) ซึ่งมีความหมายถึง เทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน และวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีความยั่งยืนตามสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นๆมาตรฐานวิชาชีพของ AECT ยอมรับว่า ความเหมาะสมมีมิติด้านจริยธรรมของมันเอง ในหมวด 1.7 ของมาตรฐานวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา ระบุว่า “ส่งเสริมแนวปฏิบัติอย่างมืออาชีพและทันสมัยในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการศึกษา” หมวด 1.5 กล่าวถึง “การใช้วิธีการอย่างมืออาชีพชัดเจนในการประเมินและเลือกวัสดุและอุปกรณ์” หมวด 1.6 ระบุว่า “บังคับให้นักวิจัย และนักปฏิบัติการป้องกันตนเอง จากสภาวะอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย” หมวด 1.8 ระบุว่า “บังคับให้หลีกเลี่ยงข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ เพศ เชื้อชาติ หรือศาสนา” ขณะเดียวกันจะส่งเสริม การพัฒนาโปรแกรมและสื่อซึ่งเน้นความหลากหลายของสังคม ว่าเป็นชุมชนหลากหลายวัฒนธรรม หมวด 3 เรียกร้องให้มีการเปิดโอกาสแสดงทัศนะหลากหลายจากภูมิปัญญา และวัฒนธรรม หลีกเลี่ยงการโฆษณาอย่างบ้าเลือดอันตราย (commercial exploitation) เคารพในกฎหมายลิขสิทธิ์ และทำการวิจัยหรือปฏิบัติการโดยการใช้กรรมวิธีตามแนวทางจัดขึ้นโดยกลุ่มมืออาชีพ และคณะกรรมการของสถาบันความเหมาะสมของสื่อ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของครูว่า มีความเหมาะสม และใช้ประโยชน์ได้ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่ เช่น ครูสังคมศึกษาอาจใช้เกมคอมพิวเตอร์สร้างสถานการณ์จำลองเหตุการณ์ทางสังคมให้นักเรียนนำมาอภิปราย เป็นต้นความเหมาะสมบางครั้ง ได้นำมาใช้เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์เพื่อการตรวจควบคุมหนังสือ หรือวัสดุการเรียนการสอนอื่นๆ โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกับ การแสดงออกทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง ใช้ภาษาไม่สุภาพ หรือกล่าวร้ายผู้อื่น หรือไม่เหมาะสมกับผู้อ่านบางช่วงอายุ เป็นต้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเลือกวิธีการและสื่อ ควรใช้หลักการทำดีที่สุด (best practice) ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามหมวด 1.7 ของแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมของ AECT กล่าวเป็นนัยได้ว่า นักวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีความรู้ในวิชาชีพทันสมัยอยู่เสมอ และใช้ความรู้ดังกล่าวบนพื้นฐานการตัดสินใจที่ถูกต้อง การเลือกวิธีการหรือสื่อแบบสุ่มโดยบุคคลภายนอกวงการเทคโนโลยีการศึกษา นับว่าไม่เข้าเกณฑ์ความเหมาะสม การตัดสินใจด้วยหลักวิชาชีพที่ถูกต้องบนฐานความรู้ที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เป็นการใช้ทรัพยากรและเวลาขององค์กร และนักเทคโนโลยีการศึกษาเองญ. เชิงเทคโนโลยี (technological)เชิงเทคโนโลยี หมายถึง การอธิบายกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นฐานของเทคโนโลยี เช่นคำกล่าวที่ว่า“การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือองค์ความรู้ใดๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติภารกิจ” (Galbraith, 1967 :12) ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) จึงไม่ใช้คำว่า Technological Education.ประเด็นที่หนึ่ง : การวางแผนและการปฏิบัติการสอน เช่น กระบวนการตัดสินใจของครูทั่วไปในชีวิตการทำงานแต่ละวัน สามารถใช้วิธีการไม่ใช่เชิงเทคโนโลยี (non – technological) ได้ สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาแล้ว กระบวนการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัย หรือการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาโมเดล ภาษาคอมพิวเตอร์หรือสูตรใดๆ ที่ปรากฏในเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องใช้กรรมวิธีเชิงเทคโนโลยีเสมอประเด็นที่สอง : มีการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยีในสื่อ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ เช่น ภาพนิ่ง วิดีโอ แถบบันทึกเสียง การต่อเชื่อมกับดาวเทียม ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาอย่างชัดเจนปฏิเสธไม่ได้ฎ. กรรมวิธี (process)กรรมวิธี หมายถึง อนุกรมของกิจกรรมที่มุ่งไปสู่ผลที่ได้ระบุเอาไว้ล่วงหน้า นักเทคโนโลยีการศึกษามักดำเนินการออกแบบ พัฒนา และสร้างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นกรรมวิธีในการพัฒนาการเรียนการสอน (instructional development) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 1960 ถึงปี 1990เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย และสรรคนิยม (constructivist) เข้ามามีบทบาทในการศึกษา กรรมวิธีต่างๆ ในการออกแบบการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนจากแนวคิดว่า ผู้สอนกำลังทำอะไร ไปเป็นผู้เรียนกำลังทำอะไร กล่าวคือ ผู้เรียนต้องสรรค์สร้างความรู้ของตนเอง มีประสบการณ์บนพื้นฐานความยากลำบากของตนเอง การออกแบบระบบการเรียนการสอนแบบเดิม ครูจะทำหน้าที่ควบคุมและเป็นเจ้าของกรรมวิธีทั้งหมด ปิดโอกาสของผู้เรียนในการเข้าถึงความชำนาญ และการส่งผ่านทักษะไปสู่กิจกรรมในชีวิตจริงบริบทความหมายของคำว่า “กรรมวิธี” ยังรวมถึง การใช้ประโยชน์ และการจัดการแหล่งทรัพยากร และการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านั้นฏ. แหล่งทรัพยากร (resources)แหล่งทรัพยากรหลากหลายชนิดทำให้เราสามารถบอกได้ว่า สาขาวิชานั้นๆ คืออะไร เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทช่วยเผยแพร่ขยายขอบเขตของแหล่งทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือผู้เรียน แหล่งทรัพยากร หมายถึง มนุษย์ เครื่องมือ เทคโนโลยีและวัสดุอุปกรณ์ ออกแบบไว้ช่วยผู้เรียนในการเรียนรู้ อาจรวมถึงระบบ ICT แหล่งความรู้ชุมชน เช่น ห้องสมุด สวนสัตว์ พิพิทธภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญบางสาขา หรือสื่อดิจิทัลใหม่ๆ เช่น CD-ROM เว็บไซต์ และเว็บเควสท์ (webquests) ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการปฏิบัติการ (EPSS : Electronic Performance Supportings System) รวมถึงสื่อแอนะล็อกทั่วไป เช่น หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ เครื่องบันทึกภาพ สื่อโสตทัศน์อื่นๆ ครูทำหน้าที่ค้นหาเครื่องมือใหม่ๆ สร้างสรรค์แหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ผู้เรียนทำการสั่งสมและจดจำแหล่งความรู้ของตนเอง และนักเทคโนโลยีการศึกษาทำหน้าที่เสาะหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมหลักทฤษฎีพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษาเนื้อหาสาระที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดสามารถมองว่าเป็นโครงสร้างของทฤษฎีได้ องค์ประกอบหลายอย่างทำให้สามารถนิยามเทคโนโลยีการศึกษาว่ามีทฤษฎีพื้นฐานมากมาย เช่น กรรมวิธีเชิงสร้างสรรค์ กรรมวิธีการใช้ประโยชน์ กรรมวิธีการบริหารจัดการ แหล่งทรัพยากรทางเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนรู้ ฯลฯ โครงสร้างของทฤษฎีเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาอื่นๆ เช่น การสื่อสาร การศึกษา จิตวิทยา และปรัชญา การยอมรับเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นวิชาชีพอย่างเป็นทางการนั้น การปฏิบัติทางเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีทฤษฎีองค์ความรู้ของตนเอง สามารถเพิ่มพูนความรู้ของตนเองโดยการวิจัย และการนำไปปฏิบัติ ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ การปฏิบัติการก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไป อาจทำได้ดีขึ้นโดยการลองผิดลองถูกเท่านั้นสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา....เป็นวิชาชีพจริงหรือ?สาขาเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง ขอบเขตของกิจกรรมซึ่งมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (เช่น ครูกับนักเรียน นักออกแบบกับลูกค้า) ข้อมูล (เช่น ผลการทดสอบ หรือโปรแกรมประยุกต์) และสิ่งของ (กระดานหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา) เพื่อวัตถุประสงค์การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบจำเป็นอีก 2 ส่วนที่ทำให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสาขาวิชาได้ คือ เทคนิคทางปัญญา (intellectual technique) และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการ (practical application) AECT, 1977)ตัวอย่างของเทคนิคทางปัญญาของเทคโนโลยีการศึกษา คือ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ หรือตัวอย่างขนาดย่อม เช่น การเลือกรูปแบบของสื่อในกรวยประสบการณ์ของ Daleเพื่อการวางแผนบทเรียน หรือกรรมวิธีการพัฒนาและทดสอบซอฟท์แวร์เพื่อการประเมินผลอย่างถี่ถ้วนก็นับเป็นเทคนิคทางปัญญาเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นภายในสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ไม่มีใครกระทำในสาขาอื่นๆ จึงสามารถกล่าวอ้างได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเทคนิคทางปัญญาของสาขาเทคโนโลยีการศึกษาโดยเฉพาะสำหรับเกณฑ์การประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติ ยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในเทคโนโลยีการศึกษา เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ก่อนแล้วนำมาสร้างเป็นแผนดำเนินการ ผ่านการทดสอบแล้วสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น วิดีโอ สถานการณ์จำลองกลุ่มเล็ก เกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ วัสดุเหล่านี้ถูกนำมาใช้จริงในห้องเรียน หรืออาจผลิตเพื่อเผยแพร่จำนวนมาก ดังนั้นการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการจริง จึงเป็นคุณสมบัติที่ปรากฏชัดเจนของเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะการนำเอาอุปกรณ์การเรียนการสอน และวิธีระบบมาประยุกต์ใช้ ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของสาขาวิชาอย่างแท้จริงเทคโนโลยีการศึกษา....เป็นวิชาชีพจริงหรือ?เกณฑ์ของวิชาชีพ (professional criteria) โดย AECT, 1977 : 23-24 ประกอบด้วย การฝึกอบรม และการให้ใบรับรอง มาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ ภาวะผู้นำ สมาคมและการสื่อสาร ความห่วงใยของวิชาชีพต่อความเป็นไปของสังคม การยอมรับของสมาชิกว่าเป็นวิชาชีพ การที่เทคโนโลยีการศึกษาจะได้รับสถานะอันทรงคุณค่าว่าเป็นวิชาชีพ จึงต้องแสดงให้เห็นว่า องค์การสมาชิกได้ทำการศึกษา และประยุกต์ใช้เทคนิคทางปัญญาอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมของเทคโนโลยีการศึกษา การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมวิธีการสื่อสารและการเรียนรู้ของมนุษย์ และคุณสมบัติของสื่อ จะทำให้การปฏิบัติและทฤษฎีของเทคโนโลยีการศึกษาชัดเจนยิ่งขึ้น การวิจัยและปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความเข้าใจต่อสาขาในฐานะวิชาชีพเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นมโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษากับความเป็นสาขาวิชาของเทคโนโลยีการศึกษา สามารถอธิบายแยกออกจากกันได้ กล่าวคือ มโนทัศน์ หมายถึง หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน วิธีการสอน สื่อชนิดต่างๆ ส่วนความเป็นสาขาวิชา หมายถึง ตัวบุคคล หรือการกระทำของบุคคลของเทคโนโลยีการศึกษาความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีการเรียนการสอนเทคโนโลยีการศึกษามีความหมายกว้างขวางกว่าเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งหมายถึง มโนทัศน์ ทฤษฎีและสาขาวิชาที่มุ่งนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภายใต้เงื่อนไขของการควบคุม และตรงเป้าหมาย (AECT, 1977 : 3)การใช้คำทั้งสองบางครั้งใช้แทนกันได้ แต่เทคโนโลยีการเรียนการสอนมีความหมายในวงแคบกว่า เหมือนกับคำว่า การศึกษา (education) กับการเรียนการสอน (instruction) นั่นเองความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีปฏิบัติการ (Performance Technology)เทคโนโลยีปฏิบัติการ มีต้นกำเนิดจากการฝึกอบรมของสถานประกอบการ และการพัฒนาองค์การ Performance Technology หรือ PT หมายถึงวิธีการองค์รวมที่ช่วยให้มนุษย์ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ด้วยวิธีหลากหลาย เช่น การสอน การช่วยเหลือขณะทำงาน การสร้างแรงจูงใจให้ทำงาน ฯลฯ ดังนั้น PT จึงอธิบายความได้ว่าPT ใช้เครื่องมือของเทคโนโลยี และการวิเคราะห์ การออกแบบ และการประเมินกระบวนการอย่างมีเป้าหมาย เพื่อเชื่อมโยงกับการฝึกอบรม การออกแบบสิ่งแวดล้อมใหม่ ระบบการป้อนกลับ หรือระบบการจูงใจเพื่อใช้วัดการปฏิบัติการ และสร้างความน่าเชื่อถือของวิธีการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ (Stolovitch and Keeps, 1992)การฝึกอบรม (training) เป็นวิธีการหนึ่งในหลากหลายของวิธีการองค์รวมของ PT แนวพิจารณานำการฝึกอบรมมาใช้ใน PT ต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบเหมือนกับการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในเทคโนโลยีการสอน ดังนั้น PT จึงมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมเอาเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีการสอนซึ่งมีบทบาทจำเพาะในมิติของการทำให้องค์การพัฒนาดียิ่งขึ้นสมมุติฐานเบื้องหลังของการกำหนดนิยามทางเลือกของคณะกรรมการกำหนดนิยามทางเทคโนโลยีของ AECT มองแยกเป็นสองประเด็น คือลักษณะแรก : การให้นิยามง่ายๆ ให้คนทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญจำเพาะใดๆ ก็เข้าใจได้ หรือในอีกมุมมองหนึ่ง เป็นการให้นิยามโดยใช้ภาษาเทคนิคอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างชัดเจน ต่อมามีการนิยามโดยการกำหนดเกณฑ์องค์ประกอบของมโนทัศน์ และขอบเขตของแนวคิดมากกว่าการนิยามจากการสังเกตของบุคคลที่ปฏิบัติการจริงๆลักษณะที่สอง : การให้นิยามแบบชัดเจนรัดกุม ไม่คลุมเครือ เพื่อเป็นการขีดวงว่าสิ่งใดใช่หรือไม่ใช่ อะไรเป็นแก่นอะไรเป็นกระพี้ลักษณะที่สาม : เป็นการนิยามที่แตกต่างห่างไกลจากคำนิยามของ AECT ยุคก่อนๆ โดยมุ่งอธิบายคุณค่าของแก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา การนำเทคโนโลยีซึ่งถือว่ามีคุณค่าแบบพลังเป็นกลาง (value neutral force) มาใช้ในการศึกษาจะก่อให้เกิดคุณค่าทั้งผู้เรียน และระบบการศึกษาโดยรวม ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นจะต้องให้การศึกษาแก่มนุษย์ในลักษณะเยี่ยงเทคโนโลยี (technologically) ( ซึ่งเป็นการกระทำต่อมนุษย์เยี่ยงเครื่องยนต์กลไก) (ผู้แปล) เป็นเพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงคุณภาพของประสบการณ์ของผู้เรียน และทำให้องค์การพัฒนาในทางที่ดีขึ้นลักษณะที่สี่ : เป็นนิยามล่าสุดของ AECT กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอน เป็นทฤษฎี และปฏิบัติการออกแบบ พัฒนาใช้ประโยชน์ บริหารจัดการ และประเมินผลของกระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ (Seel and Richey, 1994) นิยามดังกล่าว ได้รวมเอาองค์ประกอบของทุกนิยามเข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าอาจใช้ถ้อยคำ สำนวนที่แตกต่างกัน และอาจมีบางส่วนเพิ่มเติมเข้ามา นิยามในปัจจุบันเป็นการปรับปรุงนิยามของปี 1994 ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนมโนทัศน์โดยสิ้นเชิง การกระทำดังกล่าวเป็นแบบวิวัฒนาการ (evolutionary) แบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการปฏิวัติ (revolutionary) ทันทีทันใดลักษณะที่ห้า : การให้นิยามใหม่มีความอ่อนไหวต่อการรับรองมาตรฐานของโปรแกรมเทคโนโลยีการศึกษาในมหาวิทยาลัย มาตรฐานเทคโนโลยีการเรียนการสอน และการสื่อสารเพื่อการศึกษา ปี 2000 (ECIT : The Educational Communications and Instructional Technology Standards) ระบุว่า โปรแกรมดังกล่าวต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ของสาขาวิชา ฐานความรู้ของสาขาวิชา แบ่งออกได้เป็น 5 องค์ประกอบ หรือพิสัย (domain) คือ การออกแบบ พัฒนา การนำไปใช้ การจัดการ และการประเมิน โดยอาศัยนิยามของ AECT ในปี 1994 เป็นแนวทางสำหรับการนิยามในอนาคตได้อีกด้วยคณะกรรมการนิยามศัพท์ของ AECT เสนอแนะว่า การให้นิยามในอนาคตควรต้องนำเอาพันธกิจของสมาคมมาเป็นแนวพิจารณาที่ว่า : เพื่อเป็นการสร้างภาวะผู้นำนานาชาติ โดยส่งเสริมความเป็นนักวิชาการ (scholarship) และแนวปฏิบัติอันยอดเยี่ยมในการสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์ และการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิผลของการสอน และการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่หลากหลายประเด็นสุดท้าย นิยามใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษา ควรนำแนวคิด และผลงานของสมาชิกของ AECT และบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานในสาขาเทคโนโลยีการศึกษามารวมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ไปยึดถือเอาชื่อจัดตั้งของภาควิชา หรือองค์การใดมาเป็นสรณะจุดประสงค์และผู้ใช้งานในการให้คำนิยามในโครงการนี้ มีจุดประสงค์หลายประการ เช่น 1) เพื่อเป็นการตีเส้นแยกสาขาเทคโนโลยีการศึกษาออกจากสาขาวิชาอื่นๆ 2) เพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนยอมรับสาขาวิชาฯ 3) เพื่อเป็นการรับสมัครผู้เรียนและนักปฏิบัติเข้าสู่วงการ 4) เพื่อกำหนดพารามิเตอร์ของการกำหนดมาตรฐานรับรองเครดิตของสาขาวิชาฯ 5) เพื่อกำหนดคำศัพท์วิชาการ (terminology) เพื่อการอภิปรายในสาขาวิชาฯ และ 6) เพื่อเป็นการบอกกล่าวผู้เรียน หรือบุคคลอื่นๆที่เข้ามาใหม่ในวงการได้รู้จักแนวคิดหลักๆ และคุณค่าที่เราเชื่อถือวัตถุประสงค์ทั้ง 6 ประการนำไปใช้กับผู้เรียนในสาขาวิชาฯ อาจารย์ผู้สอน ผู้ร่วมงาน นักบริหารการศึกษาที่เราเกี่ยวข้องด้วย นักปฏิบัติการในสถานประกอบการ ทหาร และส่วนอื่นๆขององค์การ ซึ่งเป็นบุคคลหลากหลายระดับความรู้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงคำศัพท์วิชาการด้านเทคนิคกับบุคคลเหล่านี้การให้นิยามเทคโนโลยีการศึกษาดังกล่าว ยังเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภาพนอกว่า ทำไมสาขาวิชาชีพนี้จึงต้องแยกตัวออกมานอกสาขาวิชาชีพอื่น และบอกให้ทราบว่า สาขาวิชานี้มีคุณค่าควรจะได้รับการรับรู้และการสนับสนุนหรือไม่ ดังนั้นข้อความนั้นจะต้องแสดงถึงค่านิยมที่มีอยู่ในตัวมันเอง และจะต้องแสดงว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ กล่าวคือ มโนทัศน์ และบุคคลที่ปฏิบัติตามนั้นได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมอย่างไรข้อความตามนิยามใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษา เราได้แสดงพันธะสัญญาที่จะ “ปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม” ด้วย “กรรมวิธีที่เหมาะสม” และเกื้อกูลให้การเรียนรู้ “ดีกว่า” สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาสามารถกล่าวอ้างได้ว่า สามารถช่วยสังคมบรรลุเป้าหมายหลักอันหนึ่ง คือ ลดระดับความไม่รู้ ซึ่งเมื่อเทียบกับคนอื่นที่มีความรู้จะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่าประวัติและความเป็นมาในอดีตในหนังสือชื่อ Educational Technology : The Development of Concept (Januszewski, 2001) กล่าวถึง การกำเนิดขึ้นของประวัติทางปัญญาของมโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งรวมเอาหลากหลายแนวคิดเข้าด้วยกันเป็นเวลานับร้อยปีมาแล้ว AECT เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างในปี 1923 ในฐานะกรมการเรียนการสอนทางทัศน์ (Department of Visual Instruction) ของกระทรวงศึกษาธิการ (NEA : National Education Association) สหรัฐอเมริกา พันธกิจเริ่มต้นของกรมนี้ คือ การเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทของสื่อทัศน์ในการศึกษา เมื่อเวลาผ่านไปแนวคิดนี้ได้ยอมรับแนวคิดจากสาขาวิชาอื่นๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ทฤษฎีระบบ จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และทฤษฎีการสื่อสาร และสื่อโสตทัศน์อื่นๆในปี 1960 จึงได้เกิดมโนทัศน์ลูกผสมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดการศึกษาเชิงปฏิวัติของ B.F. Skinner และนักพฤติกรรมนิยม อิทธิพลของสกินเนอร์ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Technology of Teaching ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ปี 1965 และในสหรัฐอเมริกา ปี 1968ในช่วงต้นปี 1960 การกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้สมาคม (ในเวลานั้น หมายถึง กรมการสอนด้วยสื่อโสตทัศน์) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ค้นคิดคำนิยามของมโนทัศน์ และคำอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผลที่เกิดขึ้น (Ely, 1963) ตกลงใช้ข้อความว่า “การสื่อสารทางโสตทัศน์” (audiovisual communication) เป็นมโนทัศน์กลางจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งปี 1970 แนวคิดเริ่มเบนไปสู่คำ “เทคโนโลยีการศึกษา” แม้ว่าแนวคิดเดิมยังมีความโน้มเอียงไปทางการสื่อสาร มโนทัศน์ใหม่ก็เกิดขึ้นในปีนี้ และได้ชื่อว่า สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารเพื่อการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology)ในปี 1972 สมาคมได้ให้นิยามเทคโนโลยีการศึกษาใหม่ (AECT, 1972) โดยนับว่าเทคโนโลยีเป็นแก่นมโนทัศน์ ดังนี้“เทคโนโลยีการศึกษา เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกื้อกูลให้เกิดการเรียนรู้ของมนุษย์โดยการค้นหาระบุชื่ออย่างเป็นระบบ การพัฒนา การจัดองคาพยพ และการใช้ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อย่างเต็มรูปแบบ และผ่านการบริหารจัดการของกรรมวิธีดังกล่าว (หน้า 6)”“Educational Technology is a field involved in the facilitation of human learning through the systematic identification, development , organization and utilization of a full range of learning resources and through the management of these processes (P. 6)”นิยามของเทคโนโลยีการศึกษา ปี 1972 ในฐานะสาขาวิชา และในฐานะมโนทัศน์ จุดสนใจเปลี่ยนจากสื่อโสตทัศน์ – แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ไปเป็นกรรมวิธีการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้เหล่านี้ กรรมวิธีเหล่านี้อ้างว่าเป็นวิธีระบบ สะท้อนให้เห็นถึงทฤษฎีระบบอันนำไปสู่การสร้างทฤษฎีเชิงระบบต่อไปในปี 1977 AECT ได้ทบทวนนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังรักษาแก่นมโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะของกรรมวิธี (process) ที่จะช่วยทำให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นการให้นิยามล่าสุดในปี 1994 ก็ยังคงเน้นกรรมวิธีเช่นเดิม แม้ว่าจะเน้นหนักไปทางเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) เป็นแก่นมโนทัศน์ก็ตามเทคโนโลยีการเรียนการสอน หมายถึง ทฤษฎี และการปฏิบัติการออกแบบ พัฒนา การใช้ประโยชน์ การบริหารจัดการ และการประเมินกรรมวิธี และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นิยามล่าสุดน่าจะมีที่มาจากนิยามดั้งเดิมของคณะกรรมการกึ่งทางการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ เคยให้นิยามไว้ในปี 1970 กล่าวถึง เทคโนโลยีการเรียนการสอน ไว้ว่า :“วิธีการระบบของการออกแบบ การนำไปใช้ และการประเมิน กระบวนการร่วมของการเรียนรู้ และการสอน เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์จำเพาะโดยมีพื้นฐานของการวิจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อสารของมนุษย์ และนำเอาทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ และไม่ใช่มนุษย์มาผสานกัน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น” (คณะกรรมาธิการเทคโนโลยีการศึกษา)คำนิยามดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยการยกอ้างกรรมวิธีขึ้นมาใช้ในนิยาม นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำว่า “อย่างเป็นระบบ” (systematic) “บนพื้นฐานการวิจัย” และ “มีประสิทธิผลมากกว่า” ในการเรียนการสอน คำเหล่านี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลาง และความโดดเด่นอันสร้างคุณค่าให้กับสาขาวิชาเป็นอย่างมากพจนานุกรมศัพท์เฉพาะ และสารานุรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้นิยามความหมายของคำเหล่านี้ไว้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น พจนานุกรมปี 1988 ได้นิยามกล่าวถึงมโนทัศน์ของผลผลิต (product) และกรรมวิธี (process) ในนิยามทั้งสองส่วน :เทคโนโลยีการศึกษา :1. สื่อซึ่งเป็นผลิตผลของการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหาทางการศึกษา2. วิธีระบบสำหรับปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึง การพัฒนาระบบการเรียนการสอน การระบุแหล่งทรัพยากร และการนำแหล่งทรัพยากรเหล่านั้นมายังผู้เรียน (Shafritz , Koeppe , and Soper)สารานุกรม ได้ให้นิยามของ “เทคโนโลยีการเรียนการสอน” โดยเน้นมโนทัศน์ผลผลิต และกรรมวิธีไว้ว่า : ศิลป์และศาสตร์ของการออกแบบ การผลิต การใช้ประโยชน์เพื่อปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างประหยัด เรียบร้อย วิธีแก้ปัญหาอาจรวมเอาวัจนะวิธี (verbal) หรือสื่อโสตทัศน์ และอาจรวมเอามนุษย์หรือไม่รวมมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง และอาจเป็นรูปแบบของบทเรียน กระบวนวิชา หรือทั้งระบบ ซึ่งเกื้อกูลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความเป็นมนุษย์ (Kovalchick and Dawson, 2004)ข้อความนี้ได้รวมพจน์สำคัญจำเป็นไว้ในนิยาม เช่น “ได้อย่างประหยัด และเรียบร้อย” “อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความเป็นมนุษย์”การให้นิยามในอดีตช่วยให้เป็นพื้นฐานให้กับคณะกรรมาธิการได้ใช้เป็นบริบทในการให้นิยามในยุคต่อๆมาบทสรุปนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาที่นำเสนอเป็นการปรับปรุงนิยามเดิมของ AECT ที่ได้ให้นิยามไว้ก่อนคำว่า “เทคโนโลยีการเรียนการสอน” (Seel and Richey, 1994) นิยามเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะกาลสามารถปรับปรุงแก้ไขได้เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทคโนโลยีการศึกษามีโครงสร้างกว้างขวางกว่าเทคโนโลยีการเรียนการสอน คล้ายๆ กับ การศึกษามีขอบเขตกว้างขวางกว่าการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการเรียนการสอน สามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจนในเทคโนโลยีปฏิบัติการ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีองค์รวมที่ช่วยเพิ่มระดับปฏิบัติการในสถานประกอบการ ด้วยวิธีการที่หลากหลายรวมทั้งการฝึกอบรมมโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องแยกออกมาจากสาขาวิชา และวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา ความสมบูรณ์ของความหมายของแต่ละประเภทสามารถเขียนแยกกันได้ และสามารถตัดสินจากเกณฑ์ที่แตกต่างกันการให้นิยามล่าสุดมีความแตกต่างจากครั้งก่อนๆ หลายลักษณะ ดังนี้ประการแรก : การใช้คำว่า ศึกษา (study) แทนคำว่า วิจัย (research) เพราะ “ศึกษา”มีนัยกว้างขวางครอบคลุมรูปแบบการสืบค้นหลากหลายมากกว่า รวมถึงการประเมิน การปฏิบัติเข้าไว้ด้วยประการที่สอง : มีการสร้างพันธะสัญญากับการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมประการที่สาม : จุดประสงค์ของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการ “เกื้อกูล” (facilitate) การเรียนรู้ ซึ่งเป็นการพูดอย่างถ่อมตนกว่าคำว่า “การควบคุม” หรือ “ก่อให้เกิด”การเรียนรู้ประการที่สี่ : เป็นการจงใจนำคำว่า “การเรียนรู้” มาไว้เป็นศูนย์กลางของนิยาม เพื่อสร้างจุดเด่นว่า การเรียนรู้นั้นเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีการศึกษา จุดประสงค์ของการชูประเด็นการเรียนรู้ก็เพื่อแสดงความโดดเด่นแตกต่างจากสาขาวิชาอื่นๆ ซึ่งอาจไม่เน้นเลย เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีปฏิบัติการประการที่ห้า : “ทำให้การปฏิบัติการดีขึ้น” หมายถึง การเกื้อหนุนให้การเรียนรู้ให้ดีขึ้นในเชิงคุณภาพ และดีกว่าวิธีการอื่นที่ไม่ใช่เทคโนโลยีการศึกษา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่ความรู้บนหิ้ง (inert knowledge)ประการที่หก : มีการอธิบายหน้าที่หลักของสาขาวิชา เช่น การสรรค์สร้าง การใช้ประโยชน์ และการบริหารจัดการ ด้วยพจน์ที่กว้างขวาง ใช้ภาษาเทคนิคน้อยลงแทนนิยามเดิม ซึ่งสะท้อนให้เห็นทัศน์ที่ไม่ชัดเจนในกรรมวิธีการออกแบบประการที่เจ็ด : มีการระบุว่า เครื่องมือและวิธีการของสาขาวิชาจะต้อง “เหมาะสม” หมายถึง เหมาะกับคน และสภาวะที่นำไปประยุกต์ใช้ และประการที่เจ็ด นิยามล่าสุดทำให้คุณสมบัติของเทคโนโลยีการศึกษาชัดเจนขึ้น โดยแสดงเหตุผลประกอบว่า เครื่องมือและวิธีการที่ไม่ใช่เทคนิควิธี จะถูกจัดไว้นอกกรอบของสาขาวิชาฯคำว่า “ทำให้ดีขึ้น” (improving) และเหมาะสม (appropriate) ถูกรวมไว้อย่างชัดเจน เพื่อแสดงคุณค่าแก่นกลางของความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้น ถ้าผลงานของเทคโนโลยีการศึกษาไม่สามารถทำได้ ”ดีกว่า” โดยมืออาชีพของสาขาเมื่อเทียบกับมือสมัครเล่นแล้ว สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาก็ไม่สมควรได้รับการตระหนักรู้ และสนับสนุนโดยสาธารณะต่อไป สาขาวิชาฯ ต้องแสดงความชำนาญเฉพาะทางบางชนิด จึงจะสมกับความเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Course Syllabus


03237101 TECHNOLOGY AND INNOVATION IN VOCATIONALAND TECHNICAL EDUCATION


1. Prerequisites : นักศึกษาทุกคนต้องมี EMAIL ADDRESS ที่ ACTIVE

2. Course Description : ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา ศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษาต่อการสอน และการฝึกอบรมด้านทฤษฎีและปฏิบัติ และประกอบอาชีพ การประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับการสอนและการฝึกอบรม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การประเมินเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา


3. Course Objectives : หลังจากศึกษาวิชานี้จบลง นักศึกษาสามารถ

1. ใช้งาน Blog ของชั้นเรียนตามกำหนด เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารได้อย่างคล่องแคล่ว

2. สื่อสารผ่าน E-Mail ได้ดี

3. อธิบายความหมาย และประโยชน์ในประเด็นต่าง ๆ ได้ชัดเจน

4. ใช้โปรแกรมนำเสนอได้ดี

5. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้


4. Textbooks : Heinich Robert et al. (1999) Instructional Media and technologies for Learning NJ : Englewood Cliffs.เอกสาร และ Website เพื่อเติมจากก. http : // www. KMITL.ac.th/Sote/technoข. http : // www. aect. com ค. http : // www. ERIC.ORG /


5. Assignments รายละเอียดก. E-mail (50 คะแนน) ส่ง email อย่างน้อย 5 ฉบับ ถึง PANITAN007@yahoo.com ตามหัวข้อที่มอบหมาย ข. ทำแบบทดสอบ (90 คะแนน) เกี่ยวกับ Sheet ที่แจก ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมค. เขียน Newscards (160 คะแนน) เกี่ยวกับข่าว Technology ร่วมสมัย ทุกครั้งที่เข้าเรียนง. สร้างบทนำเสนอ PP (110 คะแนน) ตามประเด็นกำหนดให้ประมาณ 10-20 slides


6. Course Content

Session June

Topics Assigments:

1. 07/06 เทคโนโลยีการศึกษานิยาม/มโนทัศน์ อ่าน sheet สมัคร Email, Blog

2. 14/06 เทคนิคการนำเสนอ ASSURE MODEL แนะนำ Class Blog

3. 21/06 จิตวิทยาการเรียนการสอนกับการเรียนรู้ สมัคร Class Blog
4. 28/06 How to Search Internet Search Internet

Session July

5. 05/07 E-learning ศึกษาตัวอย่าง

6. 12/07 Model of Learning ศึกษา Handouts
7. 19/07 Web-based instruction Search Internet

Session August

8. 09/08 Midterm

9. 16/08 Instruction & learning Search Internet
10.23/08 Distance Learning Search Internet
11.30/08 การสื่อความหมาย หลักการของเพาเวอร์พอยต์

Session September

12.06/09 Google features study

13.20/09 Conclusions


7. Course Evaluation

Email 50 คะแนน

Quiz 90 คะแนน

Midterm 50

Blog 110 คะแนน

Final 100 คะแนน

รวม 400 คะแนน

เกรด A = 300-400

B+ = 200-299

B = 150-1998.

นักศึกษาจะต้องแสดงความรับผิดชอบส่งงาน และมอบหมายงาน และการตรงต่อเวลาอย่างเคร่งครัด


9. อาจารย์ประจำวิชา

รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ RM 217

Mobile : 081-580-8014


Class Blog: http://ladkrabang2007.blogspot.com/