Remembering your dreams is the starting place for learning to have lucid dreams. If you don't recall your dreams, even if you do have a lucid dream, you won't remember it! And, in order to be able to recognize your dreams as dreams while they are happening, you have to be familiar with the way your own dreams work. Before it will be worth your time to work on lucid dream induction methods, you should be able to recall at least one dream every night.
Getting plenty of sleep is the first step to good dream recall. If you are rested it will be easier to focus on your goal of recalling dreams, and you won't mind so much taking the time during the night to record your dreams. Another benefit of getting plenty of sleep is that dream periods get longer and closer together as the night proceeds. The first dream of the night is the shortest, perhaps 10 minutes in length, while after 8 hours of sleep, dream periods can be 45 minutes to an hour long. We all dream every night, about one dream period every 90 minutes. People who say they never dream simply never remember their dreams. You may have more than one dream during a REM (dream) period, separated by short arousals that are most often forgotten. It is generally accepted among sleep researchers that dreams are not recalled unless the sleeper awakens directly from the dream, rather than after going on to other stages of sleep.
It can be useful while you are developing your dream recall to keep a complete dream journal. Keep the journal handy by your bed and record every dream you remember, no matter how fragmentary. Start by writing down all your dreams, not just the complete, coherent, or interesting ones--even if all you remember is a face or a room, write it down.
When you awaken in the night and recall what you were dreaming, record the dream right away. If you don't, in the morning you may find you remember nothing about the dream, and you will certainly have forgotten many interesting details. We seem to have built-in dream erasers in our minds, which make dream experiences more difficult to recall than waking ones. So, whenever you remember a dream, write it down. If you don't feel like writing out a long dream story at 3 AM, note down key points of the plot. Also write down the precise content of any dialogue from the dream, because words will almost inevitably be forgotten in a very short time.
Possibly, all you will need to do to increase your dream recall is to remind yourself as you are falling asleep that you wish to awaken fully from your dreams and remember them. This works in a similar manner to remembering to awaken at a certain time in the morning. Additionally, it may help to tell yourself you will have interesting, meaningful dreams. A major cause of dream forgetting is interference from other thoughts competing for your attention. Therefore, let your first thought upon awakening be, "What was I just dreaming?" Before attempting to write down the dream, go over the dream in your mind, re-telling the dream story to yourself. DO NOT MOVE from the position in which you awaken, and do not think of the day's concerns. Cling to any clues of what you might have been experiencing--moods, feelings, fragments of images, and try to rebuild a story from them. When you recall a scene, try to recall what happened before that, and before that, reliving the dream in reverse. If after a few minutes, all you remember is a mood, describe it in a journal. If you can recall nothing, try imagining a dream you might have had--note your present feelings, list your current concerns to yourself, and ask yourself, "Did I dream about that?" Even if you can't recall anything in bed, events or scenes of the day may remind you of something you dreamed the night before. Be ready to notice this when it happens, and record whatever you remember.
If you find that you sleep too deeply to awaken from your dreams, try setting an alarm clock to wake you at a time when you are likely to be dreaming. Since our REM periods occur at approximately 90 minute intervals, good times will be multiples of 90 minutes after you go to sleep. Aim for the later REM periods by setting the alarm to go off at 4.5, 6, or 7.5 hours after you go to sleep. Once again, when you wake up, don't move and think first of what you were just dreaming before writing.
To remind yourself of your intentions and get yourself into the spirit of your dreams, read through your dream journal at bedtime. Learning to remember your dreams may seem difficult at first, but if you persist, you will almost certainly succeed--and may find yourself remembering four or more dreams per night. Of course, once you reach this level, you probably won't want to write them all down--just the significant or compelling ones. And, the more familiar you become with the style of your own dreams, the easier it will be to remember you are dreaming while you are dreaming--and explore the world of your dreams while still on the scene.
7 ความคิดเห็น:
กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์
แคนนอน ประเทศไทย ทุ่มงบการตลาดกว่าร้อยล้าน ตอกย้ำความเป็นผู้นำ ภายใต้กลยุทธ์ “Canon, It Works!” แคมเปญแนะนำโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ครอบคลุมทุกการใช้งาน เสริมความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่เพื่อตอบโจทย์ความสำเร็จทางธุรกิจ หวังขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดสินค้าอุปกรณ์สำนักงานภายใน 3 ปี
นายวรินทร์ ตันติพงศ์พานิช ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานคอนซูเมอร์อิมเมจจิ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) กล่าวถึงการเปิดตัวแคมเปญ “Canon, It Works!” นี้ว่า “เรามองเห็นโอกาสของสินค้ากลุ่มนี้ แคนนอนต้องการนำเสนอโซลูชั่นเพื่อการดำเนินธุรกิจ และเพื่อสื่อให้กลุ่มลูกค้าเห็นว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแคนนอนสามารถเชื่อมโยงการใช้ระหว่างกันเพื่อเติมเต็มความต้องการให้ผู้ใช้งานจริงที่สำนักงานได้อย่างครบครัน ครอบคลุมการใช้งานในโฮมออฟฟิศ สำนักงานขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อช่วยประหยัดค่าดำเนินการของสำนักงาน ทั้งยังช่วยให้งานมีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่อเลือกใช้งานอย่างถูกวิธี เพราะความสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มเลือกอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ดังนิยามของคำว่า It works! คือ ความสำเร็จเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ Start (การเริ่มต้น)”
“ในทุกวันนี้ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง บวกกับสภาวะเงินเฟ้อสูง เงินในกระเป๋าผู้บริโภคน้อยลง แต่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้จ่ายเฉพาะกับสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และไตร่ตรองในการเลือกซื้อของยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลไปยังผู้ประกอบการทั้งหลายที่ต้องรับภาระต้นทุนสินค้าที่แพงขึ้น แต่ลำบากที่จะขึ้นราคาสินค้าได้ ซึ่งสภาวะแบบนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการประคองกิจการให้อยู่รอด โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่เงินทุนไม่มากหรือสายป่านไม่ยาว ทางเลือกหนึ่งเพื่อให้อยู่รอดคือการรัดเข็มขัดในองค์กรเพื่อให้ต้นทุนรวมลดลง นักธุรกิจหลายกลุ่มเริ่มเปลี่ยนแปลงเทรนด์การทำงาน บางบริษัทพยายามหาเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช่จ่าย แต่ดำเนินธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแคนนอนจึงสามารถช่วยอำนวยความสะดวกตรงจุดนี้ได้ดี” นายวรินทร์เผย
ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของแคนนอนเปิดเผยถึงการทุ่มงบการตลาดจำนวนกว่าร้อยล้านบาทในครั้งนี้ว่า หลังจากที่แคนนอนได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามจากการดำเนิน กลยุทธ์ “Canon Digital Imaging Solution” สำหรับกลุ่มสินค้าถ่ายภาพและการพิมพ์ภาพไปก่อนหน้านี้ แคนนอนจึงตัดสินใจอัดฉีดงบประมาณอีกหนึ่งร้อยล้านบาทในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2551 เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จเช่นเดียวกัน
“งบประมาณการตลาดนี้จะนำไปจัดสรรเพื่อการโฆษณาทางสื่อต่างๆ และจัดกิจกรรมทางตลาด อาทิ การจัดโรดโชว์ตามอาคารสำนักงานต่างๆ หรือจัดสัมมนาแนะนำโซลูชั่นผลิตภัณฑ์แก่ดีลเลอร์และผู้ใช้โดยทั่วไป พร้อมทั้งยังเปิดให้บริการเว็บไซด์ www.canonitworks.com เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์แก่ผู้ใช้อย่างละเอียด โดยจะมี 2 เฟส เฟสแรกจะเป็นการให้ข้อมูลสินค้าในกลุ่ม It Works พร้อมทั้งเทคโนโลยีของสินค้า และการจัดสัมมนาเกี่ยวกับธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาประสบการณ์ของนักธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าของสาหร่ายเถ้าแก่น้อย
ซึ่งจัดจะขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม ที่โรงแรม Sheraton Grand เฟสที่ 2 เปิดให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเครื่องสาธิตไปทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อจริง เพราะอยากให้ลูกค้าได้เห็นประสิทธิภาพของเครื่อง และการนำเสนอบริการหลังการขายและส่วนลดสำหรับหมึกพิมพ์และกระดาษ”
ผลิตภัณฑ์ภายใต้แคมเปญ Canon, It Works!
สำหรับผลิตภัณฑ์ภายใต้แคมเปญ Canon, It Works! มีทั้งสิ้น 6 ไลน์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ขนาดพกพา เครื่องพิมพ์แบบออล-อิน-วัน เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระบบมัลติฟังก์ชั่น เครื่องโปรเจคเตอร์ และกล้องแบบเน็ตเวิร์ค
1. PIXMA Mobile Printer เครื่องพิมพ์แบบพกพาซึ่งผู้ใช้สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ในทุกสถานที่ คุณภาพงานพิมพ์สีและขาว-ดำ ระดับเครื่องพิมพ์แบบปกติ ให้ความคล่องตัวด้วยการพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค PDA หรือ มือถือ ผ่านสัญญาณ อินฟราเรด หรือ บลูทูธ โดยตรง และมีชุดแบตเตอรี่สำหรับการทำงานนอกสถานที่ และสายชาร์จไฟในรถยนต์
2. PIXMA Business AIO เครื่องพิมพ์ออล-อิน-วัน ด้วยฟังก์ชั่น พิมพ์ สแกน ถ่ายเอกสาร และแฟกซ์ ตอบสนองความต้องการทุกการใช้งาน ให้สีสันงานพิมพ์สมบูรณ์แบบ ละเอียดคมชัด มาพร้อมฟังก์ชั่นรับ-ส่งแฟกซ์สี และโหมดพิมพ์สีหน้าปก CD และ DVD สามารถทำงานภายใต้ระบบ LAN ได้ด้วยเทคโนโลยี built-in network port (รุ่น MX700 , MX850 , MX7600) พิมพ์เอกสาร 2 หน้าอัตโนมัติ (รุ่น MX850 , MX7600) และด้วยเทคโนโลยีล่าสุดที่ทำให้คุณภาพงานพิมพ์จากเครื่องอิ้งค์เจ็ทคมชัดเท่าเครื่องเลเซอร์สี และกันน้ำได้ทั้งแผ่น สีไม่ทะลุหน้าหลังทำให้พิมพ์งานได้ทั้ง 2 หน้า (รุ่น MX7600)
3. Laser Printers ในฐานะผู้ผลิตเลเซอร์พริ้นเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก แคนนอนจึงคิดค้นเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยจึงให้งานพิมพ์ออกมาเร็วทันใจ และเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรคุณประหยัด รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทำให้งานพิมพ์ฉับไวไม่ติดขัดโดยไม่ต้องเพิ่ม RAM ตลอดอายุการใช้งาน เทคโนโลยีการทำความร้อนในการรีดผงหมึกลงบนกระดาษที่ร้อนทันทีโดยไม่กินไฟ ประหยัดไฟได้ดีกว่าเทคโนโลยีการให้ความร้อนแบบเดิมได้ถึง 75% และเทคโนโลยี all-in-one cartridge ซึ่งแคนนอนเป็นรายแรกของโลกที่รวมชุดสร้างภาพและชุดทำความสะอาดไว้ด้วยกัน ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ไม่มีค่าบำรุงรักษา และยังช่วยเก็บผงหมึกไม่ให้ฟุ้งกระจายไม่เป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ
4. Multifunction Laser Printers แคนนอนเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่มีเทคโนโลยีในการผลิตทั้ง พริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์เป็นของตัวเอง ซึ่งช่วยให้การผสมผสานของแต่ละฟังก์ชั่นนั้นกลมกลืน ทำงานราบรื่นไม่มีปัญหาจุกจิกและทนทาน นอกจากฟังก์ชั่นในการพิมพ์ ถ่ายเอกสาร และแฟกซ์ ด้วยระบบเลเซอร์ ซึ่งมีความคมชัดและประหยัดต้นทุนในระยะยาวแล้ว มัลติฟังก์ชั่นเลเซอร์พริ้นเตอร์ของแคนนอนยังมีฟังก์ชั่นเทียบเท่าเครื่องรุ่นใหญ่ เช่น การสแกนเข้า Thumb drive หรือส่งเข้า email (รุ่น MF4680)
5. XEED-LCOS Projector โปรเจคเตอร์ล้ำสมัย ด้วยเทคโนโลยี LCOS (Liquid Crystal on Silicon) ลบข้อจำกัดในการนำเสนอของทั้งระบบ LCD และ DLP ช่วยให้สีสันชัดเจน ภาพเนียนเรียบ ให้การนำเสนอโดดเด่นด้วยความละเอียดในระดับ SXGA+ (รุ่น SX80, SX6, SX7) ที่ให้รายละเอียดได้ชัดเจนทั้งตัวอักษรขนาดเล็ก ภาพลายเส้นที่เน้นรายละเอียด รูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหวสีสดใส และสามารถรองรับภาพยนตร์ระดับ High definition movie (รุ่น SX80, SX6, SX7) พร้อมช่องเชื่อมต่อ HDMI (รุ่น SX80) และยังสามารถนำเสนอภาพโดยไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ โดยเชื่อมต่อ Thumbdrive หรืออุปกรณ์ PictBridge ได้โดยตรง
6. Network Camera สุดยอดเทคโนโลยีกล้องเน็ตเวิร์คเพื่อความปลอดภัย ให้ภาพคมชัด ครบถ้วนทุกมุมมอง เหมาะสำหรับผู้บริหารที่ต้องเดินทางตลอดเวลา หรือไม่มีเวลาพอที่จะไปตรวจงานได้ทุกที่ เพราะสามารถให้ network camera จับภาพที่ต้องการได้ทุกเวลา และรับชมภาพผ่านการเชื่อมต่อกับเครือข่าย อาทิ อินเตอร์เน็ต LAN และ Leased Line หรือบันทึกภาพไว้เพื่อตรวจสอบย้อนหลัง กล้องเน็ตเวิร์คของแคนนอนให้ภาพที่ชัดเจนจากเลนส์ที่มีคุณภาพ ซูมได้สูงกว่าถึง 26 เท่าแบบ optical พร้อมด้วยความสามารถในการปรับความชัดของภาพ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แคนนอนนำมาเปิดตัวในงานนี้มี 6 รุ่น ประกอบด้วย เลเซอร์พริ้นเตอร์ 5 รุ่น ได้แก่ LBP3050, LBP3150, LBP3310, LBP3370 และ LBP5050 และแอล-คอสโปรเจคเตอร์ 1 รุ่น ได้แก่ XEED SX80
ข้อมูลสำหรับบรรณาธิการ
แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 โดยเป็นสาขาของบริษัท แคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนพนักงานกว่า 400 คน เป็นบริษัทที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านอุปกรณ์ภาพภ่ายและเครื่องใช้สำนักงานต่างๆ ประกอบด้วยทีมฝ่ายขายตรงและเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายกว่า 12 แห่ง พร้อมศูนย์บริการอีก 130 แห่งทั่วประเทศ
แคนนอนมีความมุ่งมั่นในการค้นคว้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมเพื่อการวิจัยและพัฒนาทุกปี และเป็นบริษัทที่จดสิทธิบัตรจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นแคนนอนยังเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของ Fortune Global 500 ด้วยความยึดมั่นในหลักปรัชญา “เคียวเซ (Kyosei)” ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม แคนนอนจึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และใช้งานง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชีวิตทั้งในบ้านและในที่ทำงาน
ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแคนนอนเพิ่มเติมได้ที่ www.canon.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์ ) จำกัด บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์
รายงานโดย : ภูริลาภ เรืองมณี
AMD Quad-Core ทำสถิติโลกใหม่ สมรรถนะด้านเว็บไซต์
สถิติโลกใหม่ ที่ได้จากการทดสอบระบบเซิร์ฟเวอร์ 2P และ 4P ด้วย SPECweb 2005 พิสูจน์ให้เห็นสมรรถนะของแพลตฟอร์ม AMD ที่เหนือกว่าในธุรกิจเว็บไซต์
กรุงเทพฯ – 30 กรกฎาคม 2551 จากความสามารถในการรับมือกับดีมานด์ที่เพิ่มและหนักขึ้นอยู่ตลอดเวลาบนธุรกิจเว็บไซต์ในปัจจุบัน เอเอ็มดี (NYSE: AMD) เปิดเผยว่า โปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron™ โมเดล 2356 และโปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron โมเดล 8356 คือโปรเซสเซอร์ที่ทำคะแนนได้สูงสุดจากการทดสอบสมรรถนะด้านเว็บไซต์ด้วย SPECweb®2005 บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 2P และ 4P นอกจากนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นด้วยว่าโปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron คือแพลตฟอร์มในฝันของธุรกิจกลุ่มเว็บไซต์ สำหรับการรับมือกับโหลดงานที่เพิ่มขึ้น การดึงสมรรถนะสูงสุดจากเซิร์ฟเวอร์ การลดปริมาณการใช้พลังงาน และการพัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์เจเนอเรชั่นใหม่ “Web 2.0”
“ธุรกิจเว็บไซต์จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการรับฝากเว็บไซต์ หรือการให้บริการฟังก์ชั่นสำคัญๆ สำหรับองค์กร เช่น การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM - Customer Relation Management) บนระบบอินทราเน็ต ซึ่งงานในลักษณะนี้เกือบทั้งหมดต้องการสมรรถนะสูงสุดจากระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงความยืดหยุ่นของระบบ เพื่อรับมือกับทราฟฟิกข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นในแต่ละวินาที ขณะที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายและปริมาณการใช้พลังงานไปพร้อมกันด้วย” แพทริค แพทลา (Patrick Patla) ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น บริษัทเอเอ็มดี กล่าวและว่า “ผลการทดสอบที่ออกมาทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความคุ้มค่าที่ได้รับจากโปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและดาต้าเซ็นเตอร์ที่ต้องการสมรรถนะ, ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการพลังงาน
สมรรถนะด้านเว็บไซต์ที่ได้รับการพิสูจน์ออกมาในครั้งนี้ เป็นการยืนยันความคิดที่ว่า ต่อไปนี้ธุรกิจทั่วโลกไม่จำเป็นต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เป็นเทคโนโลยีของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (Proprietary) ที่ใหญ่และแพงอีกต่อไป โปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD ช่วยให้บริษัททั่วโลกสามารถขยายดาต้าเซ็นเตอร์ได้สะดวกและง่ายกว่า ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่เพียบพร้อมทั้งสมรรถนะและประสิทธิภาพสำหรับลักษณะงานที่หลากหลายในองค์กรธุรกิจ ณ ระดับราคามาตรฐาน
ด้วยสถาปัตยกรรม Direct Connect Architecture บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเว็บไซต์ระดับโลก เช่น บริษัท ดอม คอมมูนิเคชั่นส์ (DAUM Communications), บริษัท แร็คสเปซ (Rackspace) และ บริษัท สตราโต้ (Strato) คือผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแพลตฟอร์ม Quad-Core AMD Opteron ในดาต้าเซ็นเตอร์ของพวกเขา
HP ProLiant DL385 G5 ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ 2P ทำคะแนนได้ 30,007 ทั้งนี้ HP ProLiant DL385 G5 รันด้วยโปรเซสเซอร์ AMD Opteron โมเดล 2356 ความเร็ว 2.3 GHz จำนวน 2 ตัว ขณะที่แพลตฟอร์ม 4P Quad-Core AMD Opteron ทำคะแนนได้ 43,854 หรือสมรรถนะสูงขึ้น 2.5% เทียบกับสถิติเดิม ทั้งนี้แพลตฟอร์ม 4P ที่ใช้ทดสอบเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่น HP ProLiant DL585 G5 รันด้วยโปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron โมเดล 8356 จำนวน 4 ตัว แต่ละตัวรันที่ความเร็ว 2.3 GHz และใช้พลังงานเฉลี่ย 75 วัตต์ (Average CPU Power, ACP)
ยิ่งกว่านั้น บนแพลตฟอร์ม 4P ยังได้ทดสอบการใช้งาน 10 Gigabit Ethernet (10GigE) เป็นครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งผลปรากฏว่า โปรเซสเซอร์ Quad-Core AMD Opteron สามารถรองรับความต้องการของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเว็บไซต์และเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหา
“ลูกค้าและผู้ที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ทั่วโลกต้องการระบบฮาร์ดแวร์ที่เชื่อถือได้ อีกทั้งสมรรถนะที่พร้อมสำหรับแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายในการดำเนินธุรกิจรูปแบบต่างๆ” จอห์น โกรมาลา (John Gromala) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ ProLiant กลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์มาตรฐานอุตสาหกรรม บริษัทเอชพี กล่าวและว่า “สถิติใหม่ที่ได้จากการทดสอบ HP ProLiant DL 585 G5 และ Quad-Core AMD Opteron แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะและความน่าเชื่อถือของโซลูชั่นนี้ สำหรับการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีปริมาณทราฟฟิกสูงๆ”
SPECweb® 2005 เป็นเครื่องมือทดสอบความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยการจำลองรีเควสต์ของผู้ใช้สำหรับเว็บทรานแซ็กชั่นมาตรฐาน เช่น งานธุรกรรมด้านการเงิน, งานธุรกรรมด้านอีคอมเมิร์ซ และการดาวน์โหลดคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ
เกี่ยวกับ AMD
เอเอ็มดี (NYSE: AMD) คือผู้นำนวัตกรรมการประมวลผลในตลาดคอมพิวเตอร์, กราฟฟิก และสินค้าคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ เอเอ็มดีมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรม นำเสนอทางเลือก และกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมด้วยโซลูชั่นที่มุ่งตอบสนองทุกๆความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยี และช่วยเพิ่มอำนาจให้กับผู้บริโภคทั่วไปไปจนถึงองค์กรธุรกิจทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.amd.com
ข่าวจาก : www.arip.co.th
โดย..น.ส.ชนกพร บุญศาสตร์
"Cuil" เสิร์ชเอนจิ้นใหม่ท้าชนกูเกิล
****************************************
ข่าวต่างประเทศ - แจ้งเกิดเสิร์ชเอนจิ้นใหม่ล่าสุด "Cuil (อ่านว่าคูล)" พัฒนาและดำเนินงานโดยคู่สามีภรรยาอดีตผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสืบค้นข้อมูลของกูเกิลและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) คุยฟุ้ง Cuil มีดัชนีที่ใหญ่กว่า การสืบค้นข้อมูลทำได้เร็วกว่า และผลลัพธ์ที่ได้มีคุณภาพดีกว่ากูเกิล
จุดขายแรกที่ Cuil ชูว่าเหนือกว่ากูเกิลคือดัชนีเว็บเพจ โดย Cuil ระบุว่ามีดัชนีหน้าเว็บในคลังถึง 1.2 แสนล้านเว็บเพจทั่วโลก สองคือ Cuil สามารถให้ผลลัพธ์ที่จัดกลุ่มโดยแนวคิด ไม่ใช่จากคีย์เวิร์ดเท่านั้น และสามคือ Cuil ไม่มีการสอดแนมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตแน่นอน
งานนี้ Cuil อ้างว่ากูเกิลมีดัชนีในคลังเพียง 4 หมื่นล้านเว็บไซต์เท่านั้น แน่นอนว่าดัชนีหน้าเว็บที่มากกว่าย่อมทำให้ Cuil ดูมีภาษีดีจนหลายฝ่ายอาจเชื่อว่า Cuil ดีกว่ากูเกิลจริงๆ โดยล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กูเกิลประกาศว่าสามารถค้นพบเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1 พันล้านเว็บเพจ แต่ไม่ได้ระบุว่า จำนวนเว็บเพจที่กูเกิลทำดัชนีไว้แล้วมีจำนวนเท่าใด
นอกจากจำนวนดัชนีที่มากกว่า Cuil ยังอ้างว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์เว็บเพจของ Cuil นั้นเหนือกว่าเทคโนโลยีในเสิร์ชเอนจิ้นทั่วไป ผลคือ Cuil มีการจัดลำดับหรือ rank ที่ดีกว่า เพราะเป็นการจัดลำดับจากเนื้อหา ไม่ใช่จัดลำดับจากความนิยมในการเปิดหน้าเว็บ เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาแล้ว Cuil จะจัดกลุ่มผลลัพธ์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน และจะแบ่งเป็นประเภทเพื่อความสะดวกในการเรียกดูข้อมูล
Cuil ไม่ใช่คู่แข่งรายแรกที่เสนอตัวแข่งกับกูเกิล เมื่อต้นปี Wikia Search ถูกแจ้งเกิดโดย Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งสารานุกรมออนไลน์ชื่อดังอย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia)
Cuil พัฒนาในนามบริษัท Cuil Inc. นำทีมโดย Anna Patterson อดีตผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสืบค้นข้อมูลของกูเกิล และสามี Tom Costello ศาสตราจารย์ซึ่งทำวิจัยและพัฒนาเสิร์ชเอนจิ้นให้กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและยักษ์ใหญ่สีฟ้าไอบีเอ็ม (IBM) ทั้งสองดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอบริษัท
ผู้ร่วมก่อตั้งอีกรายคือ Russell Power เคยทำงานด้านการจัดดัชนีสืบค้น การจัดลำดับหน้าเว็บ และการตรวจจับดัชนีขยะกับกูเกิลมาก่อน สำหรับบ้านใหม่ Power ประเดิมที่ตำแหน่งประธานฝ่ายวิศวกรรม
ศาสตราจารย์ Costello ยังอ้างด้วยว่าโปรแกรม Web crawler หรือโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ท่องไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลมาจัดทำดัชนีของ Cuil นั้นสามารถทำงานได้เร็วกว่ากูเกิลราว 3 เท่าตัว ใช้โฮสต์เก็บข้อมูลเป็นเครื่องพีซีน้อยกว่า 2,000 เครื่อง
ในแง่ของการแข่งขันกับกูเกิลที่วันนี้มีบริการพ่วงมากมาย ทั้งบริการแผนที่ Google Maps, บริการสืบค้นภาพ Image Search และบริการค้นหาข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือ desktop search เป็นต้น ซึ่งทำให้การแย่งคะแนนจากผู้ใช้กูเกิลทำได้ยากขึ้น จุดนี้ศาสตราจารย์ Costello ย้ำว่าจะมีการพัฒนาบริการเสริมอื่นๆตามมาในอนาคตแน่นอน แต่ยังไม่ระบุว่าเมื่อใดและอย่างไร
Credit : News Online : ไทยโพส
http://www.arip.co.th
รายงานข่าวโดย : นางสาวอารยา เลาหะพันธ์ Edtech15 Code: 51063709
"สรรพัชญ" วางมือเอชพี เปิดทางรุ่นใหม่บริหาร
นายสรรพัชญ โสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ได้ยื่นความจำนงที่จะเกษียณกับทางเอชพีแล้ว เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา รวมทั้งแจ้งให้พนักงาน พันธมิตรและลูกค้าหลักทราบแล้ว โดยจะมีผลประมาณเดือน ก.พ.2552
ทั้งนี้ การตัดสินเข้าโปรแกรมเกษียณ เนื่องจากบริษัทเปิดโอกาสให้คนทำงานจะได้รับสิทธิช่วงอายุ 55 หรือ 60 ปี และมองว่าได้บริหารงานที่เอชพีมากกว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งน่าจะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารใหม่ๆ ที่มีไอเดียใหม่ๆ มารับช่วงต่อ
เขากล่าวต่อว่า จากนี้คาดว่าจะไม่ได้ทำงานวงการไอทีต่อ และจะมองหาการทำงานที่ท้าทายอื่นๆ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์บริหารงานบริษัทข้ามชาติไปปรับใช้กับองค์กรไทย หรือการเป็นอาจารย์และกรรมการที่ปรึกษาองค์กร
ทั้งยังหวังว่า ประเทศไทยจะสามารถนำไอที เข้าไปใช้พัฒนาขีดความสามารถของประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากยังมีอัตราการใช้ไอทีประมาณ 11% ของประชากร ขณะที่ สิงคโปร์ อยู่ในระดับ 70% และเกาหลีมากกว่า 100% แล้ว
"จากนี้การบริหารงานจะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะเป็นการบอกล่วงหน้ากับทางบริษัท ที่จะสรรหาผู้มารับช่วงต่อ ซึ่งมีความเป็นได้ทั้งคนในเอชพีหรือคนนอก เป็นไทยหรือต่างชาติ ขึ้นกับความสามารถการบริหารงานและเข้าใจลักษณะองค์กร" นายสรรพัชญกล่าว
ทั้งนี้ หากสามารถสรรหาผู้บริหารใหม่ทันเดือน ต.ค.นี้ ก็จะเป็นรอยต่อหรือการเปลี่ยนผ่านที่ดี เนื่องจากเป็นปีงบประมาณใหม่ เพื่อกำหนดและวัดผลยอดขายได้อย่างชัดเจน
ส่วนการดำเนินงานช่วงเวลาที่เหลือ จะผลักดัน "Eco Solutuions Program" ที่เป็นการเสนอโซลูชั่นเอชพี เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรและช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ในศูนย์ข้อมูล (ดาต้าเซ็นเตอร์) ซึ่งจะเหมาะสมกับสถานการณ์ความต้องการลดค่าใช้จ่าย ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่
เขามองว่า เมื่อธุรกิจชะลอ การลงทุนเพื่อการเติบโตจะชะงักงัน การเสนอเทคโนโลยีเพื่อลดค่าใช้จ่ายจะยังเป็นโอกาส โดยเอชพีมีระบบจ่ายพลังงานอัจฉริยะ หรือ Dynamic Cooling ที่จะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในศูนย์ข้อมูลเพื่อจัดสรรระบบทำความเย็นตามจุดที่มีความร้อน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานกว่า 40%
ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับธุรกิจขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าจะเห็นลูกค้าเป็นรูปธรรมใน 18 เดือน
นายสรรพัชญ กล่าวว่า ภาวะการเมืองที่ผันผวน ส่งผลต่อการตัดสินใจและกำลังซื้อขององค์กร ทำให้ชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คาดว่าตลาดรวมไอทีปีนี้อาจมีอัตราเติบโตเพียง 7% เท่ากับปีที่ผ่านมา
ข่าวจาก : www.arip.co.th
รายงาน น.ส.ดารณี โต๊ะสวัสดิสุข
-BSAให้โชค ผู้แจ้งละเมิดซอฟต์แวร์-
นายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอ กล่าวว่า บีเอสเอ ขอแสดงความความยินดี และชื่นชมในการกระทำที่ถูกต้องของผู้แจ้งเบาะแสเหล่านี้ ที่ยอมเปิดเผย และแจ้งเบาะแสของบริษัทที่ต้องสงสัยมายังบีเอสเอ ทั้งนี้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) มอบเช็คเงินสดจำนวน 3 รางวัล มูลค่า 45,000 บาท, 77,000 บาท และ 108,000 บาท แก่ผู้ให้ความร่วมมือแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านทางสายด่วนฮอทไลน์ โดยเบาะแสดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ และทำให้ตำรวจสามารถเข้าจับกุม และดำเนินคดีกับบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านั้นได้
ผอ. ฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอ กล่าวต่อว่า ความผิดทั้ง 3 กรณีข้างต้น เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ประเภทใช้งานทั่วไป เช่น โปรแกรมตกแต่งภาพ ดีไซน์ แอนติไวรัส ซอฟต์แวร์เวิร์ด โปรเซสซิ่ง โปรแกรมแปลภาษา ฯลฯ ทั้งนี้ซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของบีเอสเอ เช่น อโดบี ออโต้เดสค์ ไซแมนเทค และไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส
ด้าน พ.ต.อ. ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) กล่าวว่า ข้อมูลของผู้ที่แจ้งเบาะแสเข้ามาจะถูกเก็บไว้เป็นความลับสุดยอด ผู้ที่รู้เบาะแสต่างๆ ควรแจ้งมาที่เรา เพราะนอกจากได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นการช่วยงานของตำรวจด้วยอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ถือเป็นการกระทำตนเป็นพลเมืองดีของสังคม อันควรค่าแก่การยกย่องชมเชย และช่วยให้ปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์ในองค์กรลดลงอีกด้วย
รองบก.ปศท. กล่าวต่อว่า จากไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บีเอสเอได้ทำการแจ้งเตือนไปทางเจ้าของ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหลายแห่ง ให้มีความเคารพต่อทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมาย ทั้งนี้ กฏหมายลิขสิทธิ์ไทยได้ระบุไว้ว่า หากบริษัทใดบริษัทหนึ่งถูกจับกุมในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ผู้บริหารจะต้องถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีโทษปรับตั้งแต่ 100,000 - 800,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่มีข้อมูลของการละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กรธุรกิจ สามารถรายงานเบาะแสดังกล่าวได้ที่ สายด่วนฮอทไลน์ โทร. 02-711-6193 และ 1-800-291-005 หรือ www.bsa.org ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บเป็นความลับ ทั้งนี้ บีเอสเอยินดีมอบเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแส เมื่อคดีดำเนินจนถึงที่สุด
แหล่งข้อมูล:ไทยรัฐ
http://www.bcoms.net/news/
ผู้รายงาน: นายฉัตรพันธ์ นิลกำแหง
edtect.15
ไอบีเอ็มผุดซอฟต์แวร์ช่วยหมอรักษาทารกคลอดก่อนกำหนด
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2551 15:58 น.
ไอบีเอ็มจับมือสถาบันเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยออนตาริโอและโรงพยาบาลในแคนาดา คิดค้นระบบประมวลข้อมูล เพื่อคาดการณ์สภาวะที่เปลี่ยนแปลงของทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง หวังช่วยให้แพทย์ตัดสินใจรักษาได้แม่นยำขึ้น
หัวใจสำคัญของซอฟต์แวร์นี้คือซอฟต์แวร์สตรีมคอมพิวติ้ง (Stream Computing) ผลงานการพัฒนาของศูนย์พัฒนาไอบีเอ็ม (IBM Research) ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้านชีวการแพทย์แบบต่อเนื่อง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ตรวจจับได้จากเซนเซอร์ที่ทันสมัยและอุปกรณ์ตรวจสอบทั่วไปที่ติดตั้งไว้ที่ตัวทารกและในบริเวณรอบๆ
คณะนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก ภายใต้การนำของ ดร. แคโรลีน แมคเกรเกอร์ รองศาสตราจารย์แห่งสถาบัน UOIT และประธานสถาบันวิจัยด้านระบบข้อมูลสุขภาพของแคนาดา จะใช้ซอฟต์แวร์นี้เพื่อนำเอาข้อมูลการค้นพบจากหน่วยงานวิจัยของ ดร. แมคเกรเกอร์ ไปปรับใช้ เพื่อทำให้ข้อมูลต่างๆ มีลักษณะ “สมเหตุสมผล” และในอนาคตอันใกล้ ทางคณะนักวิจัยจะส่งผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปให้แก่แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อสภาวะของทารกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และดำเนินการรักษาได้รวดเร็วขึ้น
แพทย์ในหอผู้ป่วยหนักสำหรับทารกแรกเกิด (NICU) ที่โรงพยาบาลเด็กโตรอนโต และโรงพยาบาลระดับสากลอีก 2 แห่ง ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยในครั้งนี้ด้วย โดยการตรวจสอบดูแลกลุ่มผู้ป่วยทารกที่คลอดก่อนกำหนดนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาวะบางอย่างที่คุกคามต่อชีวิต เช่น การติดเชื้อ จะสามารถตรวจพบได้ล่วงหน้า 24 ชั่วโมง โดยใช้วิธีสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสายข้อมูลทางสรีรศาสตร์
ข้อมูลที่ได้รับจากโครงการวิจัยนี้นับเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน ปัจจุบันแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยทารกคลอดก่อนกำหนดต้องพึ่งพากระบวนการที่ใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ โดยต้องอ่านค่าจากจอแสดงผลของอุปกรณ์ต่างๆ และสอบถามข้อมูลจากพยาบาลที่คอยเฝ้าดูแลผู้ป่วย
ดร. แมคเกรเกอร์ กล่าวว่า การผสานรวมงานวิจัยของเราเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เราสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยได้อย่างละเอียดและเป็นระบบ ทั้งยังสามารถทำการวิเคราะห์สุขภาพและสนับสนุนการตัดสินใจผ่านทางระบบออนไลน์ รวมถึงรับการแจ้งเตือนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจใช้ในการทำนายเหตุการณ์ทางการแพทย์
“งานวิจัยนี้จะช่วยปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นทารกได้อย่างมาก โดยจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต, ความเจ็บป่วย และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการรักษาพยาบาล”
ในเบื้องต้น นักวิจัยจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ของหอผู้ป่วยหนัก NICU ภายในห้องปฏิบัติการระบบข้อมูลสุขภาพที่ทันสมัยของสถาบัน UOIT เพื่อทดสอบซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็มโดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยแบบจำลอง หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะได้รับการทดสอบโดยใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยจริง ซึ่งไม่มีการระบุตัวตนของผู้ป่วย โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับการเก็บบันทึกในลักษณะที่เหมาะสม เพื่อให้นักวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรบางอย่าง, แสดงผลซ้ำ และรันแบบจำลองสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
ซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็มสามารถประมวลผลค่าต่างๆ ที่ได้รับจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยอัตราความเร็วที่สูงถึง 512 ค่าต่อวินาที และคณะนักวิจัยจาก UOIT จะทำการทดสอบเพิ่มเติมและพัฒนาปรับปรุงความสามารถของซอฟต์แวร์ดังกล่าวในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในแบบเรียลไทม์
ทั้งนี้ ไอบีเอ็มได้เปิดโอกาสให้ ดร. แมคเกรเกอร์ เข้าใช้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่ได้รับการจดสิทธิบัตรโดยคณะนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยที.เจ. วัตสันของไอบีเอ็มในนิวยอร์ก ภายใต้โครงการสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ (First of a Kind) ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมสำหรับตลาด และเชื่อมโยงงานวิจัยของไอบีเอ็มเข้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้อมูลสำคัญๆ จำนวนมหาศาลที่ต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบดูแลอาการของผู้ป่วย ซึ่งนับเป็นปัญหาท้าทายอย่างหนึ่งในด้านการรักษาพยาบาล ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวและการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลที่เหมาะสมนั้น จะช่วยปรับปรุงคุณภาพโดยรวมในการรักษาพยาบาล
รายงานโดย: ปวริศา ธีระนังสุ
แหล่งข่าว :http://www.manager.co.th/
CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000089148
Remembering your dreams is the starting place for learning to have lucid dreams. If you don't recall your dreams, even if you do have a lucid dream, you won't remember it! And, in order to be able to recognize your dreams as dreams while they are happening, you have to be familiar with the way your own dreams work. Before it will be worth your time to work on lucid dream induction methods, you should be able to recall at least one dream every night.
Getting plenty of sleep is the first step to good dream recall. If you are rested it will be easier to focus on your goal of recalling dreams, and you won't mind so much taking the time during the night to record your dreams. Another benefit of getting plenty of sleep is that dream periods get longer and closer together as the night proceeds. The first dream of the night is the shortest, perhaps 10 minutes in length, while after 8 hours of sleep, dream periods can be 45 minutes to an hour long. We all dream every night, about one dream period every 90 minutes. People who say they never dream simply never remember their dreams. You may have more than one dream during a REM (dream) period, separated by short arousals that are most often forgotten. It is generally accepted among sleep researchers that dreams are not recalled unless the sleeper awakens directly from the dream, rather than after going on to other stages of sleep.
It can be useful while you are developing your dream recall to keep a complete dream journal. Keep the journal handy by your bed and record every dream you remember, no matter how fragmentary. Start by writing down all your dreams, not just the complete, coherent, or interesting ones--even if all you remember is a face or a room, write it down.
When you awaken in the night and recall what you were dreaming, record the dream right away. If you don't, in the morning you may find you remember nothing about the dream, and you will certainly have forgotten many interesting details. We seem to have built-in dream erasers in our minds, which make dream experiences more difficult to recall than waking ones. So, whenever you remember a dream, write it down. If you don't feel like writing out a long dream story at 3 AM, note down key points of the plot. Also write down the precise content of any dialogue from the dream, because words will almost inevitably be forgotten in a very short time.
Possibly, all you will need to do to increase your dream recall is to remind yourself as you are falling asleep that you wish to awaken fully from your dreams and remember them. This works in a similar manner to remembering to awaken at a certain time in the morning. Additionally, it may help to tell yourself you will have interesting, meaningful dreams. A major cause of dream forgetting is interference from other thoughts competing for your attention. Therefore, let your first thought upon awakening be, "What was I just dreaming?" Before attempting to write down the dream, go over the dream in your mind, re-telling the dream story to yourself. DO NOT MOVE from the position in which you awaken, and do not think of the day's concerns. Cling to any clues of what you might have been experiencing--moods, feelings, fragments of images, and try to rebuild a story from them. When you recall a scene, try to recall what happened before that, and before that, reliving the dream in reverse. If after a few minutes, all you remember is a mood, describe it in a journal. If you can recall nothing, try imagining a dream you might have had--note your present feelings, list your current concerns to yourself, and ask yourself, "Did I dream about that?" Even if you can't recall anything in bed, events or scenes of the day may remind you of something you dreamed the night before. Be ready to notice this when it happens, and record whatever you remember.
If you find that you sleep too deeply to awaken from your dreams, try setting an alarm clock to wake you at a time when you are likely to be dreaming. Since our REM periods occur at approximately 90 minute intervals, good times will be multiples of 90 minutes after you go to sleep. Aim for the later REM periods by setting the alarm to go off at 4.5, 6, or 7.5 hours after you go to sleep. Once again, when you wake up, don't move and think first of what you were just dreaming before writing.
To remind yourself of your intentions and get yourself into the spirit of your dreams, read through your dream journal at bedtime. Learning to remember your dreams may seem difficult at first, but if you persist, you will almost certainly succeed--and may find yourself remembering four or more dreams per night. Of course, once you reach this level, you probably won't want to write them all down--just the significant or compelling ones. And, the more familiar you become with the style of your own dreams, the easier it will be to remember you are dreaming while you are dreaming--and explore the world of your dreams while still on the scene.
ทำอย่างไรถึงจะจำความฝันได้
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางครั้งคนเราก็จำความฝันได้แม่นยำ บางครั้งจำได้รางๆ แต่ส่วนใหญ่จำไม่ได้เลยว่าฝันอะไรไป ถ้าอยากจำความฝันให้ได้ต้องหมั่นฝึกระลึกความฝันให้ได้ก่อน อย่างน้อยฝึกนึกความฝันให้ได้คืนละเรื่องก็ยังดี
ถ้าจะนึกให้ได้ว่าเมื่อคืนฝันอะไรไปบ้าง อันดับแรกต้องนอนให้อิ่มก่อน ถ้าได้นอนหลับอย่างเพียงพอ โอกาสระลึกความฝันได้ก็ง่ายขึ้น และยิ่งได้นอนอิ่มยาวเท่าไร ความฝันก็จะต่อเนื่องเป็นเรื่องเป็นราวเดียวกันมากขึ้น
ความฝันเรื่องแรกมักเป็นเรื่องที่สั้นที่สุด บางทีอาจเพียงแค่ 10 นาที แต่ถ้าได้นอนหลับยาวถึง 8 ชั่วโมง คนเราอาจฝันได้ต่อเนื่องถึง 45 นาที จนถึงหนึ่งชั่วโมง คนเราฝันกันทุกคนทุกคืน ทุก 90 นาทีจะฝันหนึ่งเรื่อง คนที่บอกว่าไม่เคยฝันก็คือคนที่จำความฝันของตัวเองไม่ได้ ปกติแล้ว คนเรามักฝันมากกว่า 1 เรื่องต่อหนึ่งรอบการนอนหลับ (ให้สังเกต ลูกตาเคลื่อนไหวไปมาใต้เปลือกตาที่ปิดอยู่) แต่พอรู้สึกตัวตื่นเป็นช่วงสั้นก็จะลืม
นักวิจัยที่ศึกษาสภาพการนอนหลับยอมรับกันว่า ไม่มีทางจำความฝันได้เลยถ้าไม่เผลอตื่นขึ้นระหว่างฝันอยู่
มีข้อแนะนำแปลกๆ ว่า หากอยากฝึกระลึกความฝันให้ลองหาสมุดบันทึกฝันมาหนึ่งแล้ว วางไว้ใกล้เตียง และจดความฝันเท่าที่จำได้ ไม่ต้องสนใจว่าความฝันไม่ปะติดปะต่อเป็นเรื่องเป็นราว และไม่จำเป็นต้องเขียนให้ครบถ้วนองค์ความ แต่ขอให้บันทึกทุกความฝันไว้ก็พอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร เห็นหน้าใคร หรืออยู่ในห้องลักษณะไหน
พอตื่นขึ้นมากลางดึกให้พยายามนึกดูว่าฝันอะไรไป แล้วจดเลย เพราะถ้าไม่จด และคิดว่าจำได้ ร้อยทั้งร้อย ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็จะลืม ไม่ก็จำรายละเอียดอะไรไม่ได้เลย เหมือนกับว่า กลไกความจำของมนุษย์มีระบบลบความฝันโดยอัตโนมัติ ทำให้จำความฝันไม่ได้ แต่ถ้าขี้เกียจเขียนไดอารี่ฝันตอนตีสาม ก็เอาแค่แกนหลักของเรื่องก็พอ และถ้าจำได้ว่ามีบนสนทนาสำคัญอะไรในฝันก็จดลงไปด้วย เพราะสิ่งที่ลืมได้เร็วที่สุดในเวลาอันสั้นคือ คำพูดสนทนา
อีกวิธีหนึ่งที่อาจฟังดูติงต๊องคือ ให้ระลึกอยู่ในใจเสมอว่า คุณกำลังนอนหลับและอยากตื่นขึ้นมาแล้วจำความฝันได้หมด พอลืมตาตื่นแล้วอย่าเพิ่งลุกไปจดความฝัน ให้นอนอยู่ท่าเดิม และนึกเรื่องที่ฝันก่อน อย่าเพิ่งไปนึกถึงเรื่องอื่น หรือเรื่องที่ต้องทำในวันนั้น
บางที คุณอาจได้ความคิดดีๆ เพื่อแก้ปัญหาที่คิดไม่ตก หรือได้ไอเดียเจ๋งสำหรับใช้กับงานได้จากความฝันก็ได้
ณศิริ เตชะเสน รายงาน
ที่มา http://www.lucidity.com/NL11.DreamRecall.html
http://www.komchadluek.net/2008/08/01/x_it_h001_213795.php?news_id=213795
แสดงความคิดเห็น